การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ  2) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิทยากรและวิธีการนำเสนอ วัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสูตร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กลุ่มประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 100 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 10 คน และครูผู้สอน จำนวน 80 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับประเมินกระบวนการดำเนินโครงการและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 3) แบบสอบถามสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 4) แบบการประเมินผลการพัฒนาครูตามสมรรถนะการสอน (สำหรับครู) 5) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการพัฒนาครู (สำหรับสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี  เขต  3) และ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศและติดตามการศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี  เขต  3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t (t–test for Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

                ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 หลังเข้าร่วมโครงการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้านที่มากที่สุด คือ  ด้านวิทยากรและการบรรยาย  ความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบ   พี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) พบว่า ครูผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นมากที่สุดคือ ความเหมาะสมของหลักสูตร คู่มือ สื่อ และเอกสารประกอบการฝึกอบรมโดยเห็นว่า กระบวนการพัฒนาครูตามกระบวนการพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring)  มีความเหมาะสมมาก เนื้อหาในการจัดอบรมดีมาก เพราะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ครู พัฒนาทักษะการวิจัยให้แก่ครู ครูได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนได้จริง ผลการประเมินสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพสูงสุด คือ เรื่องเกี่ยวกับ “ความเหมาะสมของ กลยุทธ์ แนวทาง วิธีการ รูปแบบ ระบบการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ที่สามารถพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน” ความคิดเห็นของวิทยากรที่มีต่อโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) พบว่า  การเตรียมเอกสารประกอบการอบรมดีเนื้อหาครบถ้วน สามารถทำได้ทันเวลาที่กำหนด แต่ผู้เข้ารับการอบรมมีปัญหาและอุปสรรค ในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบ 5 บท

 

Abstract

               The purposes of this research were, 1) to evaluate the results of developing project to enhance teachers quality supervisors’ on individually learning achievement, 2) to evaluate the operating processes to enhance teachers quality in teaching and learning activities, lecturing and presenting, teaching materials, assessment and curriculum management, 3) to study the problems and obstacles of the operating processes to enhance teachers quality.The population and informant persons were 100 participants (10 administrators, 10 supervisors and 80 teachers) in evaluation project for developing the teachers quality by using the process of coaching & mentoring system under Kanchanaburi primary educational service area office 3. The research instruments consisted of 1) pre–test and post–test in action research, 2) opened and closed questionnaire of project, 3) questionnaire for the participants of project,4) assessment forms for teachers, 5) the project interview form (for the director of Kanchanaburi primary educational service area office/ the vice the director of primary educational service And  assistant director area office) and the director of supervisors group. The data were analyzed by percentage (%), mean (X), standard deviation (S.D.), t – test for dependent samples and content analysis.

               The research results were as follows; administrators, supervisors and teachers under Kanchanaburi primary educational service area office 3 after training had achievement of classroom action research higher before joined the project statistically significant at .05 level. The trainees had opinion toward the project were in high level. The opinion average scores that most at the trainers and presentation. The opinion toward the curriculum of developing teachers by using the process of coaching & mentoring system found that the trainees had overall opinion in high level, the highest opinion were the curriculum, handbook, medias and document for training. Their opinioned about the process to develop teachers by using the process of coaching & mentoring was suitable at high level. The contents of training were the best because it used to enhance their cognition to develop research skills for the teachers. They had chanced to develop themselves and keep their knowledge to develop teaching in real live. The evaluation competency of directors and supervisors found that at good level, the subject that had the highest quality was the suitable of strategy, guideline, approach, coaching & mentoring system could to develop competencies for action research skills. The opinion of trainers toward teachers development project by coaching & mentoring found that the preparing for document to train  are very good and could in time, but the trainees had problems and obstacles about to write research report.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ