การพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการบริจาคโลหิตหมู่พิเศษของผู้บริจาคโลหิตในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงวิธีการจัดหาโลหิตหมู่พิเศษ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรคต่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับบริจาคโลหิตหมู่พิเศษ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการบริจาคโลหิตหมู่พิเศษของผู้บริจาคโลหิต ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้แทนองค์กรศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จำนวน 7 คน และผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ 5 คน โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2556 ผู้ทำวิจัยได้ใช้แนวคิดการบริจาคโลหิต แนวคิดการมีส่วนร่วม และแนวคิดในการเป็นพลเมืองดีมาอ้างอิง การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้วิธีวิจัยแบบเจาะลึกกับผู้แทนองค์กรศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยและผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ ซึ่งผู้วิจัยได้ผลสรุปว่า การจัดหาโลหิตนั้นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยต้องสรุปความต้องการเลือดจากโรงพยาบาล หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดหาโลหิต ซึ่งพบปัญหามาก ทั้งด้านในตัวของเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยขาดความชำนาญของเจ้าหน้าที่ การชี้แจง การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ไม่เข้าถึงกลุ่มผู้บริจาคหมู่เลือดพิเศษ หรือตัวของผู้บริจาคยังไม่ทราบหมู่เลือดของตนเอง การไม่ทราบถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต ซึ่งทางผู้วิจัยได้ทำแนวทางพัฒนา ส่งเสริมการบริจาคโลหิต เพื่อให้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยคำนึงถึงการจัดการในเรื่องสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้เพียงพอต่อผู้บริจาคโลหิต การบริการที่ดีต่อผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ และรวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพียงพอต่อการรองรับผู้บริจาค ท้ายที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร การโฆษณา ให้เข้าถึงตัวผู้บริจาคเพื่อให้เกิดการตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต
Abstract
The purpose of this research 1) to study the way of supplying special blood group 2) to study the problems and obstacles related to the process of blood donation among special blood group and 3) to study the development of the countries promoting blood donation among special blood donors. The researcher collected data from 7 representatives of the National Blood Centre of the Red Cross and 5 donors. The researcher collected data at the National Blood Centre from July to August 2013 The concept of blood donation, participation and good citizen were applied in this research. This study is a qualitative research with phenomenology method and in-depth research. The process in getting the blood supply started from the blood summary of the hospital by the Red Cross. Then, the staff searched for the blood supply. However, they found the problems. The staff of Red Cross were not professional in advertising and public relations. Therefore, they were not abled to reach the blood donors. As a result, the donor did not even know their blood group. The researcher set the guidelines to develop and promote blood donation for the Red Cross. The recommendations of this research were that the Red Cross should provide sufficient equipment for blood donors, good service to accommodate the donors. Lastly, the Red Cross should have public relations, information and advertisement in order to raise awareness of blood donation.