กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชน เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Main Article Content

เพชรอำไพ มงคลจิรเดช
ศุภรานันท์ ดลโสภณ
สุชาดา กิจเกิดแสง
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางการแก้ไขในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่า   ต้นน้ำลำธารและป่าชุมชน เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารเขื่อนศรีนครินทร์ และพนักงานแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์เขื่อนศรีนครินทร์ จำนวน 3 คน และผู้แทนจากชุมชนที่อาศัยอยู่รอบเขื่อนศรีนครินทร์จำนวน 5 คน

               ผลการวิจัยพบว่า กฟผ. ได้ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความสัมพันธ์และการศึกษาชุมชนเพื่อทำแผนที่ทางสังคม 2) การให้ความรู้แก่ชุมชน 3) การวางแผน 4) การดำเนินงานตามแผน 5) การติดตามประเมินผล ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ ทัศนคติในการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนขาดความตระหนักในประโยชน์ของโครงการ ทัศนคติและรูปแบบการบริหารงานชุมชนสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. และการเลือกโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนของ กฟผ. แนวทางการแก้ไขคือ การหาแนวร่วมที่มีอิทธิพลกับชุมชน การนำบุคคลภายนอกมาให้ความรู้และจัดเวทีเสวนาร่วมกับชุมชน การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของแผนงาน และการลงพื้นที่ด้วยจิตอาสาเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

Abstract

               The purposes of this research were to study a community participation building process, problems and solutions of community participation building process in headwater forest and community forest restoration and conservation plan of Srinakarin Dam, Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). This research is a qualitative research. Data collection was based on phenomenology study, documentary research, non-participant observation and in-depth interviews. The key informants were 1 EGAT executive and 2 people in charge of public relation and community relation department of Srinakarin Dam, EGAT and 5 community representatives who lived around Srinakarin Dam.

               The results of this research revealed that EGAT allowed community to participate in every single process of headwater forest and community forest restoration and conservation plan which were 1) providing knowledge to community 2) planning 3) execution 4) monitoring and assessing plan. Problems in community participation building process were community’s attitudes toward participation, lack of community realization on project benefits, EGAT’s attitudes and patterns of community relation and corporate social responsibility works and EGAT project selection to meet the needs of community. Practical solutions to the problems were finding community partners who has the ability to influence the community, bringing third party expert for sharing knowledge and establishing community forum, allowing community to get involved in every process and finally, building good relationship with community continuously by sincere volunteering heart.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ