การให้ความหมาย รูปแบบ และกลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัท เครือเบทาโกร จำกัด

Main Article Content

สรรชัย ลี้สุขสม
สุริยา คงปาน
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย รูปแบบกลยุทธ์ ปัญหาและอุปสรรค รวมไปถึงวิธีการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารบริษัท เครือ เบทาโกร จำกัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาปรากฏการณ์วิทยา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้จัดการอาวุโสสำนักกิจกรรมเพื่อสังคม ของบริษัท เครือเบทาโกร จำกัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์  (Descriptive Analysis)

               ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหาร บริษัท เครือเบทาโกร จำกัด ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ว่า นอกจากการดำเนินธุรกิจเพื่อหารายได้แล้ว ยังยึดมั่นในการสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชนและสังคม อาทิ การดูแลพนักงานในองค์กรอย่างดี การทำสินค้าให้ปลอดภัย การดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชน โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญและดำเนินกิจกรรม CSR ควบคู่ไปกับทุกๆ วัน ของการดำเนินธุรกิจ เพื่อร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน และตอบแทนคืนสู่สังคมอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิดมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อก้าวเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงข้างสังคม

 

Abstract

               The objective of this research was to study the meaning of corporate social responsibility and to determine how to manage the problem and obstacle of corporate social responsibility by the president of Betagro public company.  This research is a qualitative study (phenomenology study) by in-depth interviewing Vice President Corporate Sustainable Development. Data analysis was used descriptive method.

               As a result, the president of Betagro public company defined the meaning of corporate social responsibility, which is the maximum benefit for public and social, such as excellent welfare for the employee, safety products, law abiding and solve public poverty problems. The company has been recognized and provided corporate social responsibility in order to promote the strong sustained growth of the public and also developed public capabilities in all areas with professionalism and in accordance with the principles of good corporate governance to ensure public sustainability.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ