การศึกษาคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค : การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์จำแนก

Main Article Content

ชัยวิชิต เชียรชนะ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค เพื่อตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองต่อการจำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 251 คน กลุ่มที่ 2 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์จำแนก จำนวน 1,103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์จำแนก ผลการวิจัยพบว่า  1. องค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบคือ ความท้าทายในการเรียนรู้ การฝึกฝนทดลองเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้  การตัดสินใจในการเรียนรู้ การค้นคว้าและตรวจสอบการเรียนรู้ การเพิ่มพูนความรู้ มุมมองอนาคตในการเรียนรู้ การรวบรวมข้อมูลและการคิดค้น การใช้เทคนิคในการเรียนรู้ และความรับผิดชอบในการเรียนรู้ สามารถอธิบายความแปรปรวนรวมได้ร้อยละ 58.04 และคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะแบบเอกมิติแยกตามมิติ 2.องค์ประกอบคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองทุกองค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3.ทุกองค์ประกอบมีความสำคัญในการจำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษา มีความถูกต้องในการจำแนก ร้อยละ 59.38 นักเรียนนักศึกษาที่มีองค์ประกอบความรับผิดชอบในการเรียนรู้ การใช้เทคนิคในการเรียนรู้ และการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้สูง จะเป็นกลุ่มระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนนักเรียนนักศึกษาที่มีองค์ประกอบการเพิ่มพูนความรู้ ความท้าทายในการเรียนรู้ การฝึกฝนทดลองเรียนรู้ การค้นคว้าและตรวจสอบการเรียนรู้  การรวบรวมข้อมูลและการคิดค้น การตัดสินใจในการเรียนรู้ และมุมมองอนาคตในการเรียนรู้สูง จะเป็นกลุ่มระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 

 

Abstract

               The purposes of this study were to analyze factors of self-directed learning characteristics of technical college students, to examine factors confirmation of self-directed learning characteristics, and to study factors of self-directed learning characteristics on discrimination groups of students (Vocational Certificate and High Vocational Certificate).  The participants were technical students under the jurisdiction of the Office of the Vocational Education Commission consisted of two groups (251 students for exploratory factor analysis, and 1,103 students for confirmatory factor analysis and discriminant analysis).  The instrument for data collection was a self-directed learning scale (reliability = .80).  The data were analyzed by the correlation analysis, exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis and discriminant analysis.  The findings were as follows:  1.  Factors of self-directed learning characteristics consisted of ten factors: challenge to learn, practice to learn, preparation of learning, decision to learn, searching and examination of learning, knowledge increment, future perspective of learning, information collection and thinking, using techniques  of learning, and responsibility of learning (Factors can explain the total variance = 58.04%).  In addition, all of them were unidimensionalities (consecutive approach).   2.  Factors of self-directed learning characteristics were fit to the empirical data.  And, 3.  All factors were important in identifying groups of students (Correct classification = 59.38%).  Technical students having high factors of responsibility of learning, using techniques of learning, and preparation of learning were a Vocational Certificate group, while technical students having high factors of knowledge increment, challenge to learn, trial practice to learn, searching and examination of learning, information collection and thinking, decision to learn, and future perspective of learning were a High Vocational Certificate group.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ