การใช้สีในงานออกแบบเลขนศิลป์เพื่อรองรับเด็กสายตาเลือนราง

Main Article Content

ญาฐณา คลาดแคล้ว

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ   1. เพื่อศึกษาและค้นคว้าแนวทางการใช้สีในการงานออกแบบให้
ตรงกับความสามารถของเด็กสายตาเลือนราง      2. เพื่อสร้างหนังสือภาพที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับ
เด็กสายตาเลือนรางระดับ 1 และระดับ 2

               ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กสายตาเลือนราง จำนวน 47 คน และทดสอบผลงานออกแบบ
จำนวน 15 คน ระดับสติปัญญาปกติ  อายุ 0 - 6 ปี ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 6 สถานที่  ศึกษาเฉพาะความ
สามารถในการมองเห็นระยะใกล้ (Near Visual Acuity) ใช้วิธีการคัดเลือกแบบมีจุดประสงค์/เฉพาะเจาะจง
(Purposive Selection) เป็นการคัดเลือกจากอาสาสมัคร (Voluntary Selection)

               เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้สายตาของเด็กที่สายตา
เลือนราง 2. แบบสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย  3. แบบทดสอบสีสำหรับเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง   4. ผลงานออกแบบ  5. แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผลงานออกแบบ  6. แบบทดสอบ

เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการทดลองก่อน-หลังทดลอง

               การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ผลรวม  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิจัยทดลองแบบ  One  group  Pretest - Posttest  Design  ใช้เวลาในการทดลอง 5 วัน วันละ 30-45 นาที วิเคราะห์เนื้อหา ( Content analysis ) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้งานออกแบบ  นำเสนอโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ  แผนภูมิแท่ง   

               ผลการวิจัยพบว่า 

               1.  ปัจจัยของสีที่มีผลต่อการมองเห็นในงานเลขนศิลป์สำหรับเด็กสายตาเลือนราง  ได้แก่  ความสด ของสี (Intensity/saturation)   การสะท้อนแสงในสี    สีของพื้นหลัง  จำนวนสีที่ใช้   การใช้สีคู่ประกอบ (Complementary colors )  ขนาดของสี  สัดส่วนการใช้ของสีต่อพื้นที่การใช้งานทั้งหมดและลักษณะของ
ภาพ ซึ่งการนำเสนอสีสดบนพื้นหลังสีดำมีความเหมาะสมที่สุดในการนำเสนอภาพ ถ้ามีจำนวนมากว่า 2 สี
ควรใช้ที่ตัดกันโทนร้อนตัดร้อนในลักษณะภาพการ์ตูนที่มีรูปทรงง่าย มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวไม่ซับซ้อน
และมีขนาดใหญ่เกิน 50%ของพื้นที่การนำเสนอทั้งหมดในการทำงานเป็นสิ่งที่สื่อสารกับเด็กสายตาเลือนราง
ได้ชัดเจนและเป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด

               2. การใช้สีในงานออกแบบเลขนศิลป์มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารสำหรับเด็กสายตาเลือนราง

               3.  ความพึงพอใจของผู้เชียวชาญต่อผลงานออกแบบโดยรวม มีค่าเฉลี่ยนเท่ากับ 4.32 และค่าเบี่ยง
เบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55

               4. ผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบของกลุ่มทดลองที่ใช้งานผลงานออกแบบ   พบว่า  มีความแตกต่าง ก่อนทำการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.6  หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 16.6  เพิ่มขึ้นเป็น 2.58 เท่า

 

Abstract

            The objectives of this research were : 1. Study and research the way of using colors in the design to match the ability of visually impaired children. 2. To create the picture book that has effective in communication on visually impaired children with eye level 1 and level 2

               Study sample was a visual in visually impaired children of 47 people and test design, 15 people and normal intelligence , aged 0-6 years with five of the study places in Bangkok, the ability to see distance Near Visual Acuity methods. Purposive Selection is chosen from Voluntary Selection.

               The tools used in this research are : 1. Interviews of experts on visual in visually impaired children.  2. Observed behavior of the target audience. 3. Color test for data storage of sample group. 4. The design works. 5. The opinions evaluation form of experts about the productivity of design. 6. Tests to measure of learning achievement before - after use the designs.

               Perform data analysis using statistic of percentage, sum, average, standard deviation. Experiments research in One Group Pretest - Posttest Design takes 30-45 minutes per day, 5-day trial content analysis. and compares point average before and after use design proposed by percentage, and bar charts.

            The results of the research were: 1. The color's factors affecting to the vision for visually impaired children in graphic design are; Intensity/saturation, reflection of light the color, background color, the number of colors used, the use of Complementary Colors, color combination, size of color, proportion of using color to all of area applications, and appearance of picture. The presentation of bright colors on a dark background is the most appropriate visual presentation. If it has more than two colors, should be used contrasting colors on warm tone in the cartoon characteristic with simple shapes and noticeable .Simple and has size more than 50 percentages of all presentations. This can communicate with visually impaired children as clear and most favorite.

               2.  Use of color in graphic design that affect to the efficiency of communication for visually impaired children.

               3.  Satisfaction of experts in productivity of design. The overall design has mean 4.32 and standard deviation 0.55  

               4.  Achievement test of the experimental group who use the design found that, there are the difference on average score between before the experiment score was 4.6 and after the experiment score was 16.6, it's increasingly double point six one.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ