การใช้วัสดุหนังในศิลปะไทยร่วมสมัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานช่างศิลป์ของไทยมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแสดงถึงความรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ยาวนานอันเป็นรากฐานของความเป็นชาติ แสดงถึงภูมิปัญญาที่บรมครูช่างไทยโบราณได้เพียรคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่าง ๆ มาแต่อดีตและได้รับการสืบทอด ฟื้นฟู ต่อเนื่องไม่ขาดสายตลอดมา นับเป็นมรดกทางศิลปะการช่างไทยอันล้ำค่าที่หาที่สุดมิได้ งานช่างหรือศิลปกรรมเกิดจากการสร้างสรรค์ของ “ช่าง” (artisan) หรือ “ศิลปิน” (artist) ที่ประสานความคิด ฝีมือ ทัศนะทางความงามเข้ากับคตินิยมและความเชื่อมในสังคมวัฒนธรรมที่ช่างดำรงชีวิตจนกระทั่งเกิดเป็นแบบแผนเฉพาะของกลุ่มในแต่ละท้องถิ่น
หนังใหญ่ หนังตะลุง เป็นมหรสพที่เคยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เมื่อล่วงผ่านกาลสมัย ความนิยมเหล่านั้นได้ลดน้อยถอยลง เป็นผลพวงของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจากซีกตะวันตก เทคโนโลยีเหล่านั้นต่างเข้ามาแทนที่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งอาจสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า “หนัง” แบบเดิม ในวงการศิลปะไทยร่วมสมัยช่วงทศวรรษ 2520 มีการใช้วัสดุสารพัดชนิด วิธีคิด รูปแบบจากตะวันตก ในขณะเดียวกันได้เกิดกระแสรื้อฟื้นศิลปะแบบประเพณีนิยม การกลับไปหารากเหง้าของความเป็นไทย การนำเอาศิลปะพื้นบ้าน คตินิยม ความเชื่อในสังคมวัฒนธรรมตามแบบแผนเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างงานศิลปะในบริบทของปัจจุบัน
กลุ่มศิลปินที่นำวัสดุหนังมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยมีแรงบันดาลใจเดียวกัน คือ การนำวัสดุหนังซึ่งเป็นศิลปะพื้นถิ่นกำเนิด ประกอบด้วย หนังใหญ่ ได้แก่ กฤษณวงศ์ ศิวะพราหมณ์สกุล และ สุวิมล เจริญสุข ในส่วนของอัศวิณีย์ (นิรันดร์) หวานจริง จะเป็นหนังใหญ่ตามแบบฉบับมุมมองของชาวนครปฐม หนังตะลุง ศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ ได้แก่ อภิชัย ภิรมย์รักษ์ ชูศักดิ์ ศรีขวัญ สิทธิพงศ์ ปานสมทรง และไพโรจน์ ทองวั่น นำเสนอในรูปแบบศิลปะไทยร่วมสมัย ใส่แนวคิดทางคติพุทธ ผสานแนวคิดจินตนาการ แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปิน
Abstract
The distinctiveness and inventiveness of Thai traditional art has signified Thailand’s prosperity in art and culture since ancient times. Such qualities of invaluable national heritage reflected artisan’s craft skill and artist’s aesthetic idea with a unique blend of local beliefs and folkways. This has been evolved over time and become a tradition passed down within a group or community.
Shadow play used to be a form of Thailand’s popular entertainment in a remote time. However, the popularity of shadow theatre was replaced by the coming of advanced technology from the western world in terms of moving pictures. Undoubtedly, modern movies and TV shows served the audience’s needs much better than the old moving articulated figures made from cowhides did. In the 1980s a variety of materials including readymades, found objects, and mixed media were considerably used in Thai contemporary art. Artists in Thailand widely embraced concepts and styles from western art, whereas a call for revival of Thai traditional art was highly commended. Some Thai artists turned to the origins of Thai art, adopted local belief and wisdom in folk art, and presented such in the more updated context.
According to this study, a group of Thai artists who worked in leather crafting shared similar source of inspiration, that was, leather art within their birthplaces. Krissanawong Sivapramsakul and Suwimon Jaroensuk recreated leather art forms inspired from Nang Yai, the most revered and elaborate Thai shadow play. Asawinee (Nirand) Wanjing‘s style was leather work executed from a perspective of a girl from Nakhon Pathom. Apichai Piromrak made leather art from his impression on Nang Talung, a popular shadow play in the south of Thailand. Chusak Srikwan,Sittipong Pansomsong, and Phairot Thongwan demonstrated their art pieces with concepts deriving from Buddhist faith with a mix of imaginations.