ออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

Main Article Content

ธนากร ปันทวังกูร

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและดำเนินการออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวว่าสามารถรับรู้ข้อมูลการสื่อสารได้อย่างชัดเจน การวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 รวบรวมข้อมูลตัวอย่างป้ายสัญลักษณ์อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ระยะที่ 2 ออกแบบและสร้างต้นแบบผลงานออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ จำนวน 2 ชิ้นงาน ระยะที่ 3 นำผลงานการออกแบบทั้ง 2 ชุด หาค่าความพึงพอใจโดยใช้ค่าร้อยละ มาสรุปผลงานและประเมินผลงาน

            ผลการวิจัยพบว่า แนวทางที่ผู้วิจัยจัดนัยพึงพอใจมากที่สุดอันดับที่ 1 คือ ผลงานการออกแบบชุดที่1 คือแนวทางการปรับปรุงพัฒนารูปแบบของป้ายสัญลักษณ์จากรูปแบบเดิม โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ กับผลงาน ชุดที่ 1 ร้อยละ 84.94 ผลงานชุดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจร้อยละ 83.94 ในส่วนของนักท่องเที่ยว ผลงานชุดที่ 1 ได้ร้อยละ 82.41 ในผลงานชุดที่ 2 ได้ร้อยละ 74.56 ซึ่งภาพรวมของผลงานออกแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี โดยทิศทางของรูปแบบการสร้างเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์สามารถเป็นแนวทางในการสร้างเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งการออกแบบสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ของไทยได้

            ดังนั้นการผนวกความรู้ด้านการออกแบบเกี่ยวกับศิลปและการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าร่วมกับทุกองค์ความรู้ ทําให้เกิดแนวทางในการออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์

 

Abstract

            The purpose of this research is to study and  design the environmental graphic for the historical parks in Thailand with a target group aimed on Tourists who can acknowledge information and clearly communicate the design. This research proceeded to 3 periods as follow; first period, gather the example of the signs and symbols of historical park in Thailand. Second period, design and create two models of environmental graphic design for the historical park. Third period, evaluate 2 models by satisfaction of specialists, display the result by percentage, then summarize and evaluate the results.

            The final results show that the most satisfied model of this research is the first model, which is the method of improvement and development of former signage and symbols. The second satisfied method is the second model, which is the method of new design; the average satisfaction value of both first and second model is 83.94%. In the part of satisfaction from tourists, the average satisfaction value of the first model is 82.41% and the value of second model is 74.56%. Overall result of the designs is pleasant.  The methods in this research can be an outline for actual Environmental graphic design for the historical parks. The designs were also able to express identity of historical parks in Thailand.

            Consequently, merging the invaluable knowledge of art and tourism, historical parks, to the design has created the path way of Environmental graphic design for the historical parks in Thailand, which is convenient  to recognize and communicate for the historical park visitors.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ