การบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา ตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2

Main Article Content

ทินกฤต รุ่งเมือง

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา ตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2  ตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 175 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &Morgan) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scale) 5 ระดับ โดยแบ่งออกเป็น 6 ด้านคือ ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา    ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเรียนการสอน ด้านกระบวนการเรียนรู้  ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ และด้านความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที่แบบอิสระต่อกัน (t – test Independent)

            ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา ตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา ตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่แสดงให้เห็นว่า ด้านการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดเล็กมีการบริหารงานแตกต่างจากโรงเรียนขนาดกลาง (p-value = .02) ด้านกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนขนาดเล็กมีการบริหารงานแตกต่างจากโรงเรียนขนาดกลาง (p-value = .02) และด้านทรัพยากรการเรียนรู้ โรงเรียนขนาดเล็กมีการบริหารงานแตกต่างจากโรงเรียนขนาดกลาง (p-value = .00) ส่วนด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน ไม่แตกต่างกัน

 

Abstract

            The Research is the survey research to study and compare the Management of Educational Technology Policy and Standards Development Information Technology and Communication within the Secondary School, Phisanulok Educational Service Area Office 2 by the school size.  Sample for this survey research were school administrators and teachers = 175 respondent. The sampling method was stratified random sampling and classified sample group by using Krejcie & Morgan table. Check list has been used for item checking.  The result from questionnaires has been scaled by Rating scale at 5 levels and classified in 6 perspectives as follows:  school management, infrastructure, teaching and learning, learning resources and the participation from public, private sector and community. The statistical tools used for analyzing data such as frequency, percentage (%), means (x), standard deviation (SD) and t-test independency.

            The result found

            1. Management of Educational Technology Policy and Standards Development Information Technology and Communication within the Secondary School, Phisanulok Educational Service Area Office 2 has high rate in all perspectives.

            2. The comparison of within 6 perspectives from the Management of Educational Technology Policy and Standards Development Information Technology and Communication within the Secondary School, Phisanulok Educational Service Area Office 2: teaching, learning process, learning resources has statistical differentiation = 0.05. About school management, infrastructure and the participation from public, private sector and community did not have any differentiation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ