การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีแผนการเรียนต่างกัน

Main Article Content

ทิพวรรณ พลอยงาม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ  1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์ - คณิต  แผนการเรียนภาษา - สังคม และแผนการเรียนอาชีพ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างชิ้นงานภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์ – คณิต แผนการเรียนภาษา – สังคม และแผนการเรียนอาชีพ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วย สื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์ – คณิต แผนการเรียน  ภาษา – สังคม และแผนการเรียนอาชีพ  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 แผนการเรียน  วิทย์ – คณิต แผนการเรียนภาษา – สังคม และแผนการเรียนอาชีพ แผนการเรียนละ 1 ห้อง  ห้องเรียนละ 40 คน 

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย: 1) แผนการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT 2) สื่อมัลติมีเดีย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินชิ้นงานภาคปฏิบัติ      5) แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (X)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way  ANOVA)   

            ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์-คณิต แผนการเรียนภาษา-สังคม แผนการเรียนวิทย์-คณิต และแผนการเรียนอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการสร้างชิ้นงานภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์-คณิต แผนการเรียนภาษา-สังคม และแผนการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทย์-คณิต แผนการเรียนภาษา-สังคม และแผนการเรียนอาชีพ นักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to compare academic achievement through the animation of 4MAT teaching method with multimedia of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program 2) to compare the ability to create animation tasks through the animation of 4 MAT teaching method of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program 3) to study about attitude through the animation of 4MAT teaching method with multimedia of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program. The sample in this research comprised Mathayom Suksa 4 students in the first semester of 2011 academic year of Kururatrangsarit School in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program with 40 students in each.

            The instruments used to collect data were: 1) 4 MAT Teaching method with multimedia lesson plans 2) multimedia 3) learning achievement test 4) performance task assessment 5) attitude questionnaire. The data was statistically analysed by mean, standard deviation and one-way analysis of variance (one-way ANOVA)

            The results of this research were as follow :

            1.  The academic achievement through the animation of 4 MAT teaching method with multimedia of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program was significantly at the .05 level different.

            2.  The ability to create animation tasks through the animation of 4 MAT teaching method with multimedia of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program was significantly at the .05 level different.

            3.  The opinion through the animation of 4 MAT teaching method with multimedia of Mathayom Suksa 4 students in Science - Mathematics Program, Language – Social Program and Vocation Program was at the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ