การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีของสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ

Main Article Content

เพ็ญพิชชา มั่นคง

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องพลเมืองดีของสังคมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ตามแนวโยนิโสมนสิการ  2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองกะโดน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 1  จำนวน 30 คน ใช้แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (One-Group  Pretest-Posttest  Design)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ  2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีของสังคม 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ  4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสตามแนวโยนิโสมนสิการ    

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้เรื่องพลเมืองดีของสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้  2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ  สูงกว่าเกณฑ์ 80% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

Abtract

            The purposes of this research were: 1) compare learning outcomes on addition and  subtracting after applying the yonisomanasikarn approach,  2) compare critical thinking abilities after applying the yonisomanasikarn approach and 3) study the students’ opinion towards  the application of the yonisomanasikarn approach. The sample consisted of 30 students in the third grade class during the 2011 academic year of Nongadon School, Nakornpatom Education Service Area Office 1.  Experimental Design used was the One-Group  Pretest-Posttest Design.  The research instruments were lesson plans, learning outcomes test, critical thinking  test, and questionnaires form.

            The research finding revealed : 1) The learning outcome in  good citizens of society of  third grade students before and after applying the yonisomanasikarn approach were statistically  significant different at the level of .05 where as the learning outcomes after applying the yonisomanasikarn approach were higher.  2) Students’ critical thinking abilities after applying yonisomanasikarn approach were statistically  significant different at the level of .05 where as the critical thinking abilities after applying the yonisomanasikarn approach were higher 80% and  students’ critical thinking abilities were enhanced at a good level. 3) Students’ opinion toward the yonisomanasikarn approach were at a very high  level of agreement.  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ