การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Main Article Content

กรรณิการ์ กวางคีรี

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารละลายกรด-เบส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่องสารละลายกรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อศึกษาความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากชิ้นงานของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส  และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพวิทยา อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารละลายกรด-เบส แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความเข้าใจที่คงทน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สมบัติของสารละลายกรด-เบส มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   E1/Eมีค่าเท่ากับ 85.90/85.00  2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสมบัติของสารละลายกรด-เบส ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  3) ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสมบัติของสารละลายกรด-เบส ในภาพรวมนักเรียนมีความเข้าใจที่คงทนอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยมีคะแนนความเข้าใจที่คงทนเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การอธิบาย การแปลความ การประยุกต์ใช้ การประเมินตนเอง การมีมุมมองที่หลากหลาย และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น 4) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารละลายกรด-เบส ในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้

 

ABSTRACT

  The objectives of this study were 1) to develop an instructional plan of the acidic and basic solutions through an inquiry-based learning approach to meet an effective learning criterion of 80/80, 2) to evaluate the analytical thinking ability and enduring understanding of students after the implementation of the inquiry-based learning approach, and 3) to assess students’ opinions toward the inquiry-based learning approach. Data were collected from a group of 30 seventh grade students of Nongphowittaya School, Photharam, Ratchaburi through a lesson plan as well as several analytical thinking ability tests, enduring assessments forms and questionnaires distributed in the classes. The statistical data analyses of both descriptive (%, , and S.D.) and inferential (dependent t-test and content analysis) statistics were performed and a probability of 0.05 or less was considered as statistically significant. The results revealed that the effective instructional plan of the acidic and basic solutions was developed through the inquiry-based learning approach. The learning score E1/E2 was about 85.90/85.00 in which successfully meet the effective learning criterion. The scores indicating analytical thinking ability of the students after the implementation of the inquiry-based learning approach were significantly higher than those scores before the implementation the inquiry-based learning approach. High levels of all enduring understanding ability aspects were found in which the lesson explanation showed highest level of enduring understanding ability. Furthermore, students showed their highest level of agreement to the inquiry-based learning approach. The learning activities, learning environments, and the advantages from a learning lesson showed their agreement level ranged from the highest to the lowest level, respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ