การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษตามแนวเรื่อง โดยใช้กลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ณัฏฐพล คุปต์ธนโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการใช้กลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษฯและ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษตามแนวเรื่องโดยใช้กลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท 2) แบบทดสอบความสามารถทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการใช้กลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบท 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษฯ ผลการวิจัยพบว่า1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ มีค่าเท่ากับ 81.04/79.43 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการใช้กลวิธีการเดาความหมายคำศัพท์จากบริบทของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีมากต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

 

Abstract

               The purposes of the research were 1) to develop and test the efficiency of a Computer-Assisted Language Learning (CALL) Program on subject theme vocabulary by using word context strategies for Matthayom-Four students of The Demonstration School, Silpakorn University, Nakorn Pathom; 2) to compare the students’ ability in English vocabulary and word context strategies before and after using the CALL program; and 3) to survey the students’ opinions toward the CALL program. The sample comprises 40 Matthayom-Four students of The Demonstration School, Silpakorn University, Nakorn Pathom, during the academic year 2011.The instruments used for gathering data consisted of: 1) Computer-Assisted Language Learning Program on subject theme vocabulary by using word context strategies; 2) an English achievement test on subject theme vocabulary and word context strategies, used as a pretest and posttest; and 3) a questionnaire on opinions toward the CALL program. The results of the study were as follows: 1) The efficiency score of the CALL program was 81.04/79.43 The average score of the English vocabulary formative test from the 7 units was 81.04 percent and the average score of the posttest was 79.43 percent. Consequently, the efficiency score of the CALL program is higher than the expected criterion (75/75); 2) The students’ ability in English vocabulary and word context strategies after studying through the CALL program was significantly higher at the 0.05 level; and 3) The students’ opinions toward the CALL program were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ