การพัฒนาบทเรียนเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต เพื่อความเข้าใจและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตเพื่อความเข้าใจและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตเพื่อความเข้าใจและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้บทเรียนการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต 3) เพื่อศึกษาความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคม ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า ประกอบด้วย 1) บทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต 2 หน่วยการเรียน หน่วยการเรียนละ 3 บทเรียน รวม 6 บทเรียน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต จำนวน 6 แผนการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต 1 ฉบับ เพื่อใช้ทดสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต 4) แบบทดสอบความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคมของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนในการเรียนโดยใช้บทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการค้นคว้าพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตเพื่อความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันในสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.27/ 81.13 2) ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตหลังจากใช้บทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิต สูงกว่าก่อนได้รับการฝึกโดยใช้บทเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อม และชีวิต และ 4) นักเรียนมีระดับความคิดเห็นต่อบทเรียนเสริมทักษะการอ่านที่เน้นเนื้อหาด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตอยู่ในระดับดี
Abstract
The purposes of this study were: 1) to develop and study the efficiency of English reading skill supplementary lessons based on understanding and awareness of environment and living together in society for Mathayomsuksa 4 students 2) to compare the students’ reading achievement before and after using the constructed lessons 3) to study the students’ awareness of environment and living together in society before and after using the constructed lessons and 4) to study the students’ opinions towards the constructed lessons. The sample group was 20 mathayaomsuksa 4 students in U-Thong School, Amphur U-Thong, Suphanburi province studying in the first semester of educational year 2011 by simple random sampling. The instruments used for gathering data were 1) six reading supplementary lessons for understanding and awareness of environment and living together in society. 2) six lesson plans 3) a reading achievement test and 4) a questionnaire on students’ awareness of environment and living together in society, and 5) a questionnaire on students’ opinions towards the constructed lessons based on environment and life. The statistics used in the paper were percentage, mean, and standard deviation. The results of the study were 1) the efficiency of English reading skill supplementary lessons based on understanding and awareness of environment and living together in society for Mathayomsuksa 4 students was at a high level since the average score of the 6 reading tests was 83.27 percent whereas the posttest was 81.13 percent 2) the students’ achievement scores in reading comprehension after using the lessons was significantly higher than before 3) the students’ awareness of environment and living in society was higher and 4) the students’ opinions towards the constructed reading lessons based on the environment and life were highly positive.