การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการฟัง และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีผลต่อกิจกรรมและแบบฝึกทักษะการฟังที่สร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนถาวรานุกูล อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 5 บท 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการฟังเพื่อการสื่อสาร มีค่าเท่ากับ 85.53 ซึ่งมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 2) ความสามารถด้านทักษะการฟังเพื่อการสื่อสารของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการฟังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีต่อกิจกรรมการฟังและ แบบฝึกเสริมทักษะการฟังเพื่อการสื่อสาร
Abstract
The purposes of this research were 1) to construct and test the efficiency of English communicative listening exercises for Matthayom two students of Thawaranukul School, Samutsongkhram Province, 2) to compare students’ English listening ability before and after using the communicative English listening exercises and 3) to study students’ opinions toward the exercises.
The research instruments used for the study are 1) five English communicative listening exercises 2) five English lesson plans 3) an English listening achievement test, used as a pretest and a posttest and 4) a questionnaire surveying students’ opinions on the English listening exercises. The findings of the study are 1) the percentages of 85.53, resulting from the test performance after the work participation in the five of English communicative listening exercises was higher than the hypothetical criterion. 2) the students’ achievement scores resulting from the test performance after the work participation in the five of English communicative listening exercises were significantly higher than those tested prior to the work participation at the level of 0.05 on the t-test scale. 3) the students’ positive opinions about the English communicative listening exercises were mostly high.