การพัฒนาผลการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจที่คงทน เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์

Main Article Content

กัลยา ภู่ทอง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 2) ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ 3) ศึกษาความเข้าใจที่คงทน เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านทุ่งแจง  อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ     ซินเนคติคส์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความเข้าใจที่คงทน และ5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ รูปแบบที่ใช้ในการทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลัง (The One-Shot Case Study) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. ผลการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัด  การเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ นักเรียนมีผลการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 94.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ   ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

               2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ นักเรียนมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               3. ความเข้าใจที่คงทน เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก และมีพัฒนาการความเข้าใจที่คงทนทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย การอธิบาย การแปลความ  การประยุกต์ใช้ การมีมุมมองที่หลากหลาย การเข้าใจถึงความรู้สึกผู้อื่น และการรู้จักตนเอง ระหว่างเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์โดยภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยระดับมาก

 

Abstract

               The purposes of this research were to: 1) develop the learning outcome of surrounding environment among Prathom Suksa 2 students as teaching by synectics approach with the prescribed criterion of 70% 2) study the development of creative thinking among Prathom Suksa 2 students before and after  teaching by synectics approach 3) study the enduring of understanding 4) study the students’ opinion toward synectics approach .The sample consisted of 10 Prathom Suksa 2 students of Bantungjang School, under Ratchaburi Educationl Service Area 1 Office during the first semester of academic year 2011. The research instruments were: 1) lesson plans of synectics approach on surrounding environment 2) achievement test 3) creative thinking test 4) enduring understanding assessment form 5) questionnaires. The research design was the one-shot case study. The collected data were analyzed by the statistical means of percentage (%), mean (X), standard deviation (S.D.) and content analysis.

               The findings were as follow:

               1. The learning outcome of  surrounding environment among Prathom Suksa 2 students as teaching by synectics approach, the students gained score of 94.67% which was higher than the prescribed criterion of 70%.

               2. The finding showed development of creative thinking among Prathom Suksa 2 students after teaching by synectics approach  was significantly higher than before teaching at 0.05.

               3. Enduring of understanding  surrounding environment among Prathom Suksa 2 students were at the high level, as categorized by explanation, interpretation, application, various perspective, emphatization and self-knowledge after teaching by synectics approach  was significantly higher than during teaching at 0.05.

               4. The students’ opinion toward the synectics approach teaching were strongly agree.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ