การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กรกต ธัชศฤงคารสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องดนตรีจีนบางหลวง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเมื่อเรียนด้วย สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง  3) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีจีนบางหลวง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่องดนตรีจีนบางหลวง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้   เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  ของโรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คน             

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมัลติมีเดีย 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย 4) สื่อมัลติมีเดีย เรื่องดนตรีจีนบางหลวง 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินผลการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีจีนบางหลวง 7) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ( % )  ค่าเฉลี่ย  (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่องดนตรีจีนบางหลวง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.80/73.17

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            3.  ผลการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีจีนบางหลวง มีคุณภาพอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 75.33

            4.  ความคิดเห็นของผู้เรียน ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67

 

Abstract

            The purposes of this research were : 1) To develop the multimedia of The Chinese music Bang Luang in the efficiency in accordance with the criterion, 2) To compare the students’ achievement by The multimedia of The Chinese music Bang Luang, 3) To study the students’ the practicing skills The Chinese music Bang Luang of Mathayomsuksa 2 students of Jian-Hua School,Bang-Len,Nakhonpathom, 4) To study the students’ opinion on the multimedia of The Chinese music Bang Luang. The research samples consisted of 20 students of Mathayomsuksa 2 students of Jian-Hua School,Bang-Len,Nakhonpathom. The research was conducted within the First semester of academic year 2011.

            The instruments in this research were 1) focus group discussion 2) a structured interview, 3) lesson plan, 4) the multimedia of The Chinese music Bang Luang, 5) the achievement test, 6) performance evaluation form, and 7) questionnaire form on students satisfaction (rating scale) The data analysis were percent (%), mean (xˉ) ,standard deviation (S.D.) and t-test Dependent  

            The results of the research were :

            1.  The efficiency of The multimedia of The Chinese music Bang Luang was 74.80/73.17.

            2.  The comparison showed that their mean posttest score was significantly higher than the pretest at the 0.05 level of significance.

            3.  The students’ practicing skills The Chinese music Bang Luang score was good level. (xˉ  = 11.30, 75.33%)

            4.  The students who learned via The multimedia of The Chinese music Bang Luang showed their satisfaction at a high level. (xˉ  = 4.23  , S.D. = 0.67)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ