การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6และ4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับ ผลการเรียนรู้เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 28 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราว แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง โดยมีผู้ในท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้และประเมินผล 2) ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดหมาย ผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดวังน้ำเขียว จำนวน 28 คน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยครูผู้สอนและผู้รู้ในท้องถิ่น ให้นักเรียนเล่นเกม ดูวีดิทัศน์ สืบค้นข้อมูลจากศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น พบว่านักเรียนมีความตั้งใจรับผิดชอบ เอาใจใส่ เพียรพยายาม อดทนและร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรพบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นอยู่ในระดับ ดี นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับ ปานกลาง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรและเห็นว่าหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the fundamental data for development of Selective Courses on Science Project in Local Product for Sixth Grade Students 2) to develop the Selective Courses on Science Project in Local Product for Sixth Grade Students 3) to implement the Selective Courses on Science Project in Local Product for Sixth Grade Students and 4) to evaluate and improve the Selective Courses on Science Project in Local Product for Sixth Grade Students. A group of sample for this research consisted of 28 students in Watwangnamkiew School Kamphaengsaen District Nakhonpathom Provinc, for 20 hours. The research instruments were an interviewing form, a focus group discussion guideline, a learning outcomes test, and a project evaluation from. The data were analysis by percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and analysis. The research findings were as follow. 1) The fundament data revealed that students and involved persons realized the importance to learn more about the management of local natural resources. I expect students to lean. Learning resources in their communities. of the local experts join learning and evaluate the results. 2) The developed curriculum were consisted of philosophy, principle, objectives, learning outcome, course description, learning schedule, curriculum contents, learn time ,instructional media, media learning evaluation method unit plans lesson plans 3) The developed curriculum with Sixth Grade Students of 28 students in Watwangnamkiew School for 20 hours. Learning activities with the process of Inquiry by teacher and local experts. Students play a game , view video of information from local sources and the data for scientific analysis to do science projects at the local. During the implementative of curriculum students were intend for our efforts, patience and co-operation activities, science projects that are consistent with a local method. 4) The results of curriculum evaluation and improvement indicated that the students’ learning outcome higher after than before the implementation of Selective Courses were statistically significant different at 0.05 level also students had the abilities in proposing the science project in local product at a great extent. Students attitudes toward science in the middle level. However, most of the students were satisfied with Selective Courses on Science Project in Local Product enables students to apply knowledge to develop their own local area.