การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อพัฒนาในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและพัฒนาแนวทางการใช้เครือข่ายทางสังคมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มคือ 1) บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม จำนวน 67 คน และ 2) ผู้บริหาร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม พบว่าบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่เคยใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในระดับปานกลาง เว็บไซต์เครือข่าย เข้าใช้งานคือ 1. Face book 2. Hi5 3. Blog Gang และ Twitter 4. Blogger 5. MySpace และ Ex teen และ 6. Multiply และ Skype ใช้งาน เฉลี่ย 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์มากที่สุด ช่วงเวลาที่เข้าใช้งานคือ ช่วงเวลา 18.01-24.00 น. ระยะเวลาที่ใช้งานใน 1 วันใช้งานไม่เกิน 1 ชั่วโมง สถานที่ใช้งานคือที่ทำงาน มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้าน โดยใช้เพื่อสื่อสารในกระบวนการปฏิบัติงาน มีประสบการณ์การใช้ตั้งแต่ 2-3 ปี มีเพื่อนในเว็บไซต์ตั้งแต่ 11-50 คน ใช้ภาษาไทยในการเข้าไปใช้และต้องการให้มีการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา
2. แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาคือ 1) ควรมีลักษณะการสื่อสารทั้งกลุ่มเดียวและต่างกลุ่มกัน 2) ควรจัดหาเครื่องมือในเครือข่ายสังคมเช่นควรมีการสร้างกิจกรรม ควรมีบล็อกแสดงความคิดเห็น ควรมีการสร้างกลุ่มเครือข่าย และควรมีการสร้างโปร์ไฟล์ 3) ควรมีการเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายสังคม เช่น ควรจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา ควรจัดทำคู่มือการใช้ ควรจัดศึกษาดูงาน ควรจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ควรจัดทำจุลสาร/แผ่นพับ ควรจัดประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์สำนักงาน 4) ควรได้รับการสนับสนุนด้านพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครือข่ายทางสังคม ควรจัดหาสื่อและเครื่องมือ เตรียมความพร้อมด้านระบบอินเทอร์เน็ตและแนวทางการจัดกิจกรรม
Abstract
This research aims to study and develop the use of social networks in the performance of educational persons in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office. The sample used in the study were two groups: 1) educational persons working in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 67 persons and 2) the administrators 15 persons were used in this study. The instruments in this research consisted of questionnaire which the data were analyzed by using percentage, average () and standard deviation (S.D.) and structured interview which the data were analyzed by using content analysis.
The results showed that
1. The behavior in using of social networks : most of educational persons used the social network site, in the medium. Network types that were used which arrange by ordinal is 1. Face book 2. Hi5 3. Blog Gang and Twitter 4. Blogger 5. MySpace and Ex teen and 6. Multiply and Skype. By using the average 1-3 times per week, most access time is the period from 18.01 to 24.00 hours, using time in working in one day to no more than one hour. There are computers connected to the Internet at home, by using the communication in the operational processes. The experience in using 2-3 years, there are friends in website from 11-50 people, using Thai in connect, and want to training, conferences and seminars.
2. The guidelines for using the social network in the performance of educational persons: 1) communicate within the same group and the different groups. 2) Tools in social networking such as make activities, to have a blog for comment, creation a group networking and profiles. 3) The dissemination and knowledge about using social networks such as Training, conferences, seminars, making a handbook for using of social network, studying out of place, the preparation of this release, preparation of pamphlets or brochures, publicity through the site office. 4) Supporting the development of personnel to make knowledgeable about using of social networks, preparing medias and tools, prepare the system of Internet and the guidelines of activities.