ความพึงพอใจ ต่อสภาพแวดล้อมในคณะเภสัชศาสตร์ ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ณัชชา มณีวงศ์ และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ

            สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางการเรียน เพราะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในคณะเภสัชศาสตร์ของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์คือ หนึ่งเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสภาพแวดล้อมของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร   ด้านอาคารสถานที่  ด้านการให้บริการผู้เรียนและด้านสังคมกลุ่มเพื่อน สองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาโดยจำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 286 ราย  โดยการสุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้คือ ใช้ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า   ระดับความพึงพอใจ ด้านอาคารสถานที่ ด้านการให้บริการผู้เรียน ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในคณะเภสัชศาสตร์ ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามเพศพบว่า ด้านอาคารสถานที่และด้านการให้บริการผู้เรียน ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สำหรับความพึงพอใจด้านสังคมกลุ่มเพื่อน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

Environment in education is a critical factor that influences learning and achievement are important factors that contribute to student learning. Bring enthusiasm, attempt and ardor of their responsibilities. The researcher was study about satisfactory environment for student in the Silpakorn University faculty of Pharmacy. The objectives of this study are: 1) to study the level of student satisfaction environment in the Silpakorn University faculty of Pharmacy, The building, student service and social friends groups 2) to compare the satisfaction of students by sex that has effect with environment in the Silpakorn University faculty of Pharmacy. The samples were studied 286 students in the Silpakorn University faculty of Pharmacy. Data analyzing in which gathered by stratified random sampling. The statistics are used percentage, standard deviation and t-test.

            The results showed that 1) overall satisfactions of the building, student service and social friends groups were highly satisfied. 2) compared the differences in satisfaction environment in the Silpakorn University faculty of Pharmacy. Classification by sexes was found the building and student services had no statistically significant difference at .05 levels, while satisfactions in social friends groups were statistically difference at .05 levels.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ