ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัตติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อ ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อรอุรา สุขแปดริ้ว

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง       การบวกและการลบจำนวนเต็ม ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคงทองวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 36 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) 2) บทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง การบวกและการลบ    จำนวนเต็ม 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test)

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. ผลการเรียนรู้เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

             2. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก(X = 2.64 , S.D. = 0.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมการทำงานกลุ่มที่มีการปฏิบัติมากอันดับ 1 คือ พฤติกรรมด้านการสร้างบรรยากาศในการทำงานกลุ่ม ส่วนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มที่มีการปฏิบัติเป็นอันดับสุดท้ายคือ พฤติกรรมด้านการกล้าแสดงความคิดเห็น

            3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด(X = 4.72 , S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมากอันดับ แรก คือ ด้านการวัดและประเมินผล ส่วนด้านที่นักเรียนมีความพีงพอใจเป็นอันดับสุดท้ายคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้

 

Abstract

            The purposes of this research were to 1) compare learning outcome in mathematics on the topic of addition and subtraction of integer before and after learning by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique 2) study group working behaviors of the students that learning by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique 3) study students’ satisfaction towards learning activities by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique. The sample consisted of 36 students of Matthayomsuksa 1 during the academic year 2011 of Kongthong Wittaya School.

            The instruments of this research were 1) lesson plans of learning by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique 2) multimedia lessons in addition and subtraction of integer 3) learning outcomes test 4) assessment form of group working behaviors 5) questionnaires on satisfaction towards learning activities by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique. The statistical analysis employed were mean, standard deviation and t-test dependent.

            The results of this research were as follow:

            1. The learning outcomes on addition and subtraction of integer of Matthayomsuksa 1 students after learning by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique were statistically significant higher than before learning  at  0.01 level .

            2. The students’ group working behaviors that learning by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique were at a high level.(X = 2.64 , S.D. = 0.05) Their performance on creation on learning environment were at the hightest level and the behaviors that were the least performed were exchange opinions.

            3. The students’ satisfaction towards learning activities by using multimedia lessons with cooperative learning by STAD technique were at a high level. (X = 4.72 , S.D. = 0.48) On the aspects of measurement and evaluation were at the hightest level and learning activities were the least level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ