ชีววิทยา และแนวทางการเพาะเลี้ยงหอยกระจก (Placuna placenta)

Main Article Content

สิทธิ กุหลาบทอง

Abstract

บทคัดย่อ

               หอยกระจก (Placuna placenta) เป็นหอยทะเลเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกสัดส่วน ได้แก่ ผลผลิตไข่มุก เปลือกใช้เป็นวัสดุดิบในการผลิตปูนและเครื่องประดับ และเนื้อหอยสามารถใช้ในการบริโภคและผลิตเป็นอาหารสัตว์ ในธรรมชาติอัตราการเติบโตของประชากรหอยกระจกจะมีความสัมพันธ์ดังสมการ Lt = 186.6 (1 - exp[- 0.7802 (t +0.3543)]) และมีช่วงฤดูการสืบพันธุ์ในเดือนตุลาคมและเมษายน โดยมีวงรอบของการสืบพันธุ์ประมาณ 8 – 12 เดือน ในด้านของการเพาะเลี้ยงแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การเลี้ยงแบบแพไม้ไผ่ และการเลี้ยงในระบบฟาร์มซึ่งมีแนวทางการเพาะพันธุ์หลายวิธี เช่น การกระตุ้นด้วยอุณหภูมิ แรงกดดัน ความเค็ม รังสี UV และการใช้ฮอร์โมน อาหารหลักที่ใช้ในการอนุบาลตัวอ่อนของหอยกระจก คืออาหารผสมระหว่าง ไดอะตอม (Isochrysis galbana) และสาหร่ายสีเขียว (Tetraselmis tetrahele) หลังจากฟักประมาณ 8 – 15 วัน ลูกหอยจะเริ่มลงเกาะ และเมื่ออายุ 80 วัน ก็สามารถย้ายไปลงในบ่อเลี้ยงได้ 

 

Abstract

               Windowpane oyster, Placuna placenta is an economic sea bivalve. The oyster are required of foreign countries market because the oyster can be applied in every the proportion such as pearl product, shell can be apply to lime production and decoration, and meat can be applied to human food and animal food. Normally, growth rate of the oyster population are relate to this equation: Lt = 186.6 (1 - exp[- 0.7802 (t + 0.3543)]) and reproductive season were found in October and April. The reproductive cycle is about 8 – 12 months. Culture method of the oyster can be separated into 2 types; they were raft culture and intensive farming which can breed in various methodologies such as temperature shock, pressure shock, salinity shock, photochemical stimuli and hormone.  Larval stage of oyster was cultured with mix food diatom, Isochrysis galbana and green algae, Tetraselmis tetrahele. After hatched about 8 – 15 days, the larvae is developed to settling stage and the oyster is 80 old days can move to pond culture.  

Article Details

Section
บทความ