วัดป่าไทรย้อย

Main Article Content

วิชาญ สู่พิภักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

               วัดป่าไทรย้อย เป็นวัดที่เป็นสำนักสงฆ์ไทรย้อยมาก่อน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่เป็นป่าไทรมาก่อน จึงได้นำชื่อไทรย้อย มาเป็นชื่อของสำนักสงฆ์  ก่อนหน้าที่จะมาเป็นสำนักสงฆ์นั้น มีเพียงที่พำนักของพระเพียงหลังเดียว (เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน) หลังจากนั้นได้มีคนศรัทธาและเข้ามาทำนุบำรุง จนเกิดเป็นสำนักสงฆ์ไทรย้อยขึ้น

               สำนักสงฆ์ไทรย้อย มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่เป็นป่าไทรเก่า รวมทั้งชุมชนรอบๆพื้นที่ ซึ่งสำนักสงฆ์นอกจากจะเป็นที่ทำบุญทางวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาอบรมธรรมะ และวิปัสสนา ให้กับพุทธศาสนิกชน เด็กนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ  จนภายหลัง มีการสร้างอาคารต่างๆเพื่อรองรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนามากมาย แต่ยังขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดจนอาคารในส่วนของพุทธาวาส รวมถึงสังฆาวาส เพื่อการขออนุญาตเป็นวัด

               จุดประสงค์ในการศึกษา และออกแบบวิทยานิพนธ์นั้น  ต้องการเน้นการออกแบบโครงการจริง เพื่อที่จะสามารถนำความรู้และการสร้างสรรค์ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการจริง โดยมีแนวคิดในการออกแบบคือ การปรับปรุงของเดิมให้สอดคล้องกับการออกแบบใหม่  โดยมีความสัมพันธ์กันในด้านการใช้ประโยชน์จากอาคารและการใช้พื้นที่ว่าง  โดยการออกแบบอาคารใหม่ในแต่ละส่วน คำนึงถึงรูปแบบและการใช้งานให้เหมาะสม สอดคล้องกับพื้นที่นั้น ๆ

               เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับเจ้าของโครงการและตัวผู้ออกแบบที่จะได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้  จึงได้เลือกสำนักสงฆ์ไทรย้อย ในการนำเสนอโครงการออกแบบวิทยานิพนธ์

 

Abstract

               Wat Pah Sai Yoi was originally Sai Yoi Buddhist monastery. It is situated in a community area that was a banyan (Sai) forest. Consequently, the naming of the monastery retains the area’s characteristic. The beginning of the monastery was only a monk’s cell (the founder is the present abbot). By the support from believers and patrons, the place was later developed to be Sai Yoi monastery.

               Sai Yoi monastery is associated with former banyan forest and the neighbouring community. Further than being a place for religious activity, it is also a place to educate Dhamma and Vipassana meditation for Buddhists, young people, students, and civil officials. More buildings were built afterward to accommodate more of religious activities but the planning is still disorganized. In addition, more Budhavas (buildings for religious service) and monk’s living quarter are required in order to upgrade the monastery to be a registered temple.

               This thesis focuses on a real project implementation. The purpose of this study is to apply Thai architectural theory and knowledge into a real project. The design holds a concept of harmonizing new buildings to the existing ones by creating a relationship between space and function. The design of each new building considers its pattern of use and the suitability to the located area.

               Sai Yoi monastery is selected to be the topic of this study in order to bring the most advantages to both the project owner and the designer.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ