การศึกษาความต้องการสมรรถนะของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่ต้องการของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรม 2) เพื่อวัดระดับความต้องการของสมรรถนะที่คาดหวังและระดับปัจจุบันของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรม และ3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการของสมรรถนะที่คาดหวังกับระดับในปัจจุบันของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาคอุตสาหกรรมบริษัทละ 1 ท่านจากอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย 6 อุตสาหกรรม ดังนี้ 1) อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา และสมุนไพร จำนวน 81 บริษัท 2) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม หนัง และรองเท้า จำนวน 59 บริษัท 3) อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เครื่องจักรกลโลหะการ และการเกษตร จำนวน 53 บริษัท 4) อุตสาหกรรมการพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ และเยื่อกระดาษ จำนวน 41 บริษัท 5) อุตสาหกรรมเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ ปิโตรเคมี ก๊าซ โรงกลั่น ผู้ผลิตไฟฟ้า และพลังงานทดแทน จำนวน 48 บริษัท และ 6) อุตสาหกรรมเหล็ก เหล็กกล้า และอลูมิเนียม จำนวน 42 บริษัท รวมจำนวนบริษัททั้งหมด 6 อุตสาหกรรม 324 บริษัท เครื่องมือในการวิจัยโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และใช้การคำนวณดัชนีความสำคัญของความต้องการความจำเป็นเพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่คาดหวังกับระดับที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่เป็นที่ต้องการสำหรับนักทรัพยากรมนุษย์มี 3 ด้าน 20 สมรรถนะดังนี้ สมรรถนะด้านความรู้มี 11 สมรรถนะ คือ 1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2) การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4) การบริหารผลการปฏิบัติงาน 5) การบริหารค่าตอบแทน 6) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 7) การบริหารดาวเด่น 8) การวางแผนความก้าวหน้าพนักงาน 9) แรงงานและการพนักงานสัมพันธ์ 10) การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 11) จิตวิทยา สมรรถนะด้านทักษะมี 5 สมรรถนะ คือ 1) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ 2) การติดต่อสื่อสาร 3) การสอนงาน 4) การจัดการการเปลี่ยนแปลง และ 5) การจัดการวัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะด้านคุณลักษณะมี 4 สมรรถนะ คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) การทำงานเป็นทีม 3) การมุ่งผลสำเร็จ และ 4) ความคิดสร้างสรรค์
ผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่คาดหวังให้มีกับระดับที่มีอยู่จริงในปัจจุบันสำหรับสมรรถนะด้านความรู้โดยเรียงลำดับตามค่าดัชนีชี้วัดความต้องการความจำเป็นจากมากไปน้อย 11 อันดับ คือ 1) การวางแผนความก้าวหน้าพนักงาน 2) การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) การบริหารดาวเด่น 4) จิตวิทยา 5) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 7) แรงงานและการพนักงานสัมพันธ์ 8) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 9) การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน 10) การบริหารค่าตอบแทน และ11) การบริหารผลการปฏิบัติงาน
ผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่คาดหวังให้มีกับระดับที่มีอยู่จริงในปัจจุบันสำหรับสมรรถนะด้านทักษะโดยเรียงลำดับตามค่าดัชนีชี้วัดความต้องการความจำเป็นจากมากไปน้อย 5 อันดับ คือ 1) การจัดการวัฒนธรรมองค์การ 2) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ 3) การติดต่อสื่อสาร 4) การจัดการการเปลี่ยนแปลง และ5) การสอนงาน
ผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของนักทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่คาดหวังกับระดับที่มีอยู่จริงในปัจจุบันสำหรับสมรรถนะด้านคุณลักษณะโดยเรียงลำดับตามค่าดัชนีชี้วัดความต้องการความจำเป็นจากมากไปน้อย 4 อันดับ คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ 2) การมุ่งผลสำเร็จ 3) ภาวะผู้นำ และ 4) การทำงานเป็นทีม
Abstract
The purpose of this research were 1) to study the competency needs of human resource staff for industry sector 2) to measure level of expected competency and current competency of human resource staff for industry sector and 3) to compare level of expected competency and current competency of human resource staff for industry sector. Sample included for 324 employees in managing director, human resource manager, human resource supervisor and human resource staff position of 6 selected core industries in Thailand were 1) food, beverages, medicine and herbal industry 81 companies 2) textile, clothing, leather and footwear industry 59 companies 3) molding, metal, machinery and agricultural industry 53 companies 4) pulp, paper, packaging and printing industry 41 companies 5) chemical, biotechnology, petrochemical, refinery, gas, electricity and renewable energy industry 48 companies and 6) stainless steel and aluminum industry 42 companies. The respondent answered the questionnaires were administrated to 5-point rating scale. Statistics analyses consisting of percentage, mean and modified priority needs index (PNI modified) for comparing level of expected competency and current competency of human resource staff for industry sector.
The results of research were as follows: the competency needs of human resource staff for industry sector consisted of 3 types of competencies 20 competencies;
Knowledge Competency of human resource staff consisted of 11 competencies were 1) Human Resource Planning 2) Recruiting and Selecting 3) Human Resource Development 4) Performance Management 5) Compensation Management 6) Human Resource Information System 7) Talent Management 8) Succession Planning 9) Labor and Employee Relation 10) Knowledge Management and Learning Organization and 11) Psychology.
Skill Competency of human resource staff consisted of 5 competencies were 1) Problem Solving and Decision Making 2) Communication 3) Coaching 4) Change Management and 5) Corporate Culture Management.
Attribute Competency of human resource staff consisted of 4 competencies were 1) Leadership 2) Teamwork 3) Achievement Motivation and 4) Creativity.
The results of comparison level of expected knowledge competency and current knowledge competency of human resource staffs for industry sector by modified priority needs index ranking from highest to lowest were 1) Succession Planning 2) Knowledge Management and Learning Organization 3) Talent Management 4) Psychology 5) Human Resource Planning 6) Human Resource Development 7) Labor and Employee Relation 8) Human Resource Information System 9) Recruitment and Selection 10) Compensation Management and 11) Performance Management.
The results of comparison level of expected skill competency and current skill competency of human resource staff for industry sector by modified priority needs index ranking from highest to lowest were 1) Corporate Culture Management 2) Problem Solving and Decision Making 3) Communication 4) Change Management and 5) Coaching.
The results of comparison level of expected attribute competency and current attribute competency of human resource staff for industry sector by modified priority needs index ranking from highest to lowest were 1) Creativity 2) Achievement Motivation 3) Leadership and 4) Teamwork.