การศึกษาพัฒนาการและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นในวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อชีวิต

Main Article Content

นภัทร รัตนนาคินทร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้นวัตกรรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อชีวิต ตามหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทดลองการสอนวิชาคอมพิวเตอร์กับชีวิตภาค 1/2554  เพื่อจัดทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับคอมพิวเตอร์นั้น มีจำนวนนักศึกษา 215 คน เป็นเพศชาย 65 คน เพศหญิง 150 คน แยกตามสาขาที่เรียนเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 38 คน สาขาอุตฯท่องเที่ยว 37 คน สาขาโลจิสติก 54 คน สาขาธุรกิจการบิน 46 คน และภาคพิเศษคอมฯธุรกิจ 40 คน ผลการสอบครั้งที่ 1 และ 2 กับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยใช้ Pearson Correlation ผลการทดสอบพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ยอมรับผลการสอบการจัดการเรียนการสอนแบบที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติมีความสัมพันธ์ร้อยละ 83.3 และผลการสอบการจัดการเรียนการสอนแบบที่ 2 มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติมีความสัมพันธ์ร้อยละ 93.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยนักศึกษาจำนวน 105 คน จาก 215 คน สรุปการประเมินคำถามแบบเปิดและแบบปิดคะแนนนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้สรุปได้ว่าการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ดีนั้นควรจะมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  การเรียนรู้ที่ดีเป็นที่ยอมรับจำเป็นที่ต้องตรวจสอบด้านประสิทธิภาพของสื่อ การออกแบบสื่อและความถูกต้องของสื่อ

            ผลการวิจัยเมื่อสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งผลให้ผลการสอบของนักศึกษาเปรียบเทียบกับโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่า Pearson Correlation เปลี่ยนแปลงเข้าใกล้ 1 ในทางที่ดีขึ้น ผลสอบวิชาคอมฯพื้นฐานได้ .048 ผลสอบวิชาอินเตอร์เน็ตเป็น .081 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของนักศึกษาทั้งหมดเป็น 68.50 คะแนน ค่าสูงสุดเป็น 90 คะแนน และค่าต่ำสุดเป็น 49 คะแนน จากการสังเกตนักศึกษาจะเกิดความรับผิดชอบต่อการทำงาน การร่วมงานเป็นกลุ่ม การรับรู้เทคโนโลยี และการพัฒนากระบวนการคิด ซึ่งความรับผิดชอบดูจากการเข้าชั้นเรียนที่มี 20 คะแนน นักศึกษาทั้งหมดมีค่าเฉลี่ย 18.83 คะแนน ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์จากค่าเฉลี่ยการเข้าชั้นเรียน 84.57% ซึ่งนำนักศึกษา 105 คน มาช่วยประเมินความพึงพอใจแบบปิดและแบบเปิดแล้วได้คะแนนในระดับดี นั้น ส่วนใหญ่มีผลการเรียนพอใช้ คะแนน 2.00-2.74 จำนวน 48 คน คิดเป็น 45.71% รองลงเป็นนักศึกษาที่มีผลการเรียนต้องปรับปรุง คะแนน 0-2.00 จำนวน 22 คน คิดเป็น 20.95% กลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนระดับดีคะแนน 2.75-3.24 จำนวน 19 คน คิดเป็น 18.10% กลุ่มจำนวนน้อยที่สุดที่เข้าประเมิน คือ กลุ่มที่มีคะแนนดีมาก คะแนน 3.25-4.00 จำนวน 16 คน คิดเป็น 15.24% และการพัฒนานักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยได้รับความช่วยเหลือในการให้ข้อมูลจากผู้ปกครองและคนในชุมชนท้องถิ่น นักศึกษาจึงได้เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ทั้งทางด้านความรู้จากชุมชนท้องถิ่น ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และความรู้จากอินเตอร์เน็ตที่ต้องใช้บันทึกข้อมูล

 

ABSTRACT

            This research aimed at studying the development & satisfaction of the students towards the teaching of innovation electronic media in Computer Science for Life, on Computer Science curriculum of Rajaphat Surattani University. The research that in teaching Computer & Life in Semester 1/ 2011 to prepare for local wisdom project with IT, there were 215 students, 65 males & 150 females, classified by field of study—38 persons in business computer, 37 persons in tourism industry, 45 persons in logistics, 46 persons in aviation, & 40 persons to the test result of the first time & second time & the achievement test result of students in terms of Pearson Correlation, the relationship was in the same direction; the test result by first type was related to the achievement with statistical significance for 83.3%, & test result by second type was related to the achievement with statistical significance for 93.3%. The assessment on satisfaction towards learning management of teachers by 105 students from 215 students, it was found good. When taking methods of teaching assessment on close-ended & open-ended question to conclude, it can be that students had considered the teaching as good. It could be concluded that good learning from electronic media should have easy form & should be practical. The research that good learning media that is acceptable must be examined on media efficiency, media design & media accuracy.

             The research findings according to research objectives on the achievement on learning of students leaded to the fact that test results of students compared to local wisdom project had changing Pearson Correlation to be near 1 very much. The test result on the basic computer, it was .048, when testing the internet subject, it was .081 where the average score of all students was 68.50, the max score was 90, & the min score was 49. According to the observation, the students would be responsible for work, team, technological perception, & thinking development; this was observed by the attending to classroom that scored 20, all students had average score of 18.83. On satisfaction of students towards learning teaching electronic media, the average score of classroom attendance was 84.57%; 105 students were brought to assess on satisfaction on close-ended & open-ended basis, & the score was found good, mostly, the learning score was fair, that was 2.00–2.74 for 48 persons equal to 45.71%, secondly it was students with not so good result that was 0–2.00 for 22 persons equal to 20.95%, & those students who had good score of 2.73-3.24 for 19 persons equal to 18.10%. The least number of group of students got very good score that was 3.25–4.00 for 16 persons equal to 15.24%. On development, it was found that most students chose local wisdom in their own residing province with the help from parents & local people; so, students could learn in & out of the classroom from community, local area, & on computer network required to record information.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ