ผลการเรียนแบบผสมผสาน วิชา การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีต่อความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ต่างกัน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคะแนนความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานของนักเรียนที่มีต่อความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ระดับสูง กลางและต่ำ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ที่เรียนแบบผสมผสานกับแบบปกติ 3) ประเมินผลงานการเขียนแบบของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน 4) ศึกษาผลการประเมินแฟ้มสะสมงานของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้น ปวช.2 สาขาวิชา เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก บ้านโป่ง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 58 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และนำมาจัดกลุ่มผู้เรียนตามระดับการมองภาพมิติสัมพันธ์ สูง กลาง และต่ำ จำนวน 2 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ต่างกัน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อความสามารถในการมองภาพมิติสัมพันธ์ต่างกัน 3) อีเลิร์นนิง เรื่อง การเขียนแบบ 2 มิติ 4) แบบวัดการมองภาพมิติสัมพันธ์ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 6) แฟ้มสะสมงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนการมองภาพมิติสัมพันธ์ ของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานและแบบปกติ แตกต่างกันโดย กลุ่มที่เรียนแบบผสมผสาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.03 ถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.93 ถือว่าอยู่ในระดับดี ในส่วนของค่าสถิติทดสอบ t พบว่า กลุ่มที่เรียนแบบผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า กลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 3) การประเมินผลงานการเขียนแบบของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน พบว่ามี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.29 ถือว่าผ่านเกณฑ์ (มากกว่าร้อยละ 70) 4) ผลการประเมินแฟ้มสะสมงานของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.11 อยู่ในระดับดีมาก 5) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสาน วิชา การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 ถือว่าอยู่ในระดับดี
Abstract
The purposes of this research were 1) to study spatial relationship ability between pretest and posttest with blended learning of students who have high, medium and low level in spatial relationship ability 2) to compare students’ posttest learning achievement between blended learning and traditional learning 3) to evaluate drawing of students who learned with blended learning 4) to study portfolio of students who learned with blended learning 5) to study students’ opinions towards blended learning. The sample used in this study consisted of 58 the second-year vocational certificate students in the field of Machine and Maintenance, Don Bosco Technical College in the second semester of academic year 2011 by purposive sampling and grouping students from two classes by spatial relationship in high, medium and low level.
The instruments of the research were 1) lesson plans using blended learning 2) lesson plans using traditional learning 3) e - Learning for drawing two-dimensional 4) the test of spatial visualization 5) questionnaire on students’ opinions 6) portfolio. The data were statistically analyzed using the mean, standard deviation and t-test independent
The results of the research were as follows:
1) The spatial relationship ability of students who learned with blended learning, posttest was higher than pretest at 0.1 level of significance.
2) Learning achievement of students who learned with blended learning was higher than student who learned with traditional learning at 0.1 level of significance.
3) Drawing two-dimensional of students who learned with blended learning was very good level (mean = 15.29).
4) Students’ portfolio was very good level (mean = 8.11 ).
5) The opinion of students who learned with blended learning on computer aid design subject was good level (mean = 4.41,S.D. = 0.29).