ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการสืบค้นวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถด้านไอซีทีต่างกัน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางด้านไอซีทีระดับสูง ปานกลาง และต่ำ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสืบค้นข้อมูล ของนักเรียนที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางด้านไอซีทีระดับสูง ปานกลาง และต่ำ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี จำนวน 36 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องลมฟ้าอากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) การเรียนอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบวัดความสามารถด้านไอซีที 4) แบบประเมินความสามารถในการสืบค้นข้อมูล 5) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องลมฟ้าอากาศ และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงแบบสืบเสาะความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยอิเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถด้านไอซีทีต่างกันพบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่ม นักเรียนกลุ่มต่ำมีคะแนนเพิ่มขึ้นสูงกว่า กลุ่มปานกลาง และกลุ่มสูง ตามลำดับ
2. นักเรียนที่มีความสามารถด้านไอซีทีสูงมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถด้านไอซีทีต่ำ และความสามารถในการสืบค้นข้อมูลระหว่างกลุ่ม นักเรียนกลุ่มสูงมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลสูงกว่า กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ ตามลำดับ
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนอิเลิร์นนิงแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสืบค้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถด้านไอซีทีต่างกัน อยู่ในระดับดี (m = 4.02, s = 0.08)
Abstract
The purposes of this study is 1) to compare the achievement of Mattayomsuksa 1 students who have various level of ICT competence by using e-Learning with on Inquiry methods in science, 2) to compare the ability to search for information of Mattayomsuksa 1 students who have various levels of ICT ability by using e-Learning with inquiry methods in science subject, 3) to study the opinions Mattayomsuksa 1.
The students who were taught by using e-Learning with inquiry methods in science. Population based study was completed by students in the thirteenth session of the 2554 school year by two of his Phothawatthanasenee 36 people.
The instruments used in this study were 1) Mattayomsuksa 1 lesson plans about the weather using e-Learning with Inquiry method in science, 2) the way of studying about the weather by using e-Learning with Inquiry method in science, 3) ICT ability testing, 4) the evaluation form about the ability of searching for information, 5) the examination about weather, 6) the evaluation form with the opinions of the students who studied using e-Learning with inquiry methods in science. The statistic methods which are used to analyze data are mean and standard deviation.
The finding of the study are :
1. The achievement of the Mattayomsuksa 1 students who have various abilities of ICT ability by using e-Learning with inquiry methods in science, found that they were at a higher level than before and the academic achievement among groups The lower students could get more points than the medium and higher group by a sequence.
2. The students who have a higher ability in ICT could search for more information than the students with a lower ability.
3. The opinions of Mattayomsuksa 1 students who have different abilities for ICT using e-Learning with inquiry methods in science also affects the academic achievement of these in the good level. (m = 4.02, s = 0.08)