อนาคตภาพการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อนาคตภาพการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาสในชุมชนคนจนเมืองในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554-2563) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยและผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนคนจนเมือง และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าฐานนิยม และค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานและค่าฐานนิยม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาควรดำเนินงานดังนี้
1. รูปแบบการจัดการศึกษา ควรมีลักษณะดังนี้ 1) เป้าหมายการจัดการศึกษา มี 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับบุคคล และระดับสังคม 2) รูปแบบการดำเนินงาน ประกอบด้วย ลักษณะการจัดการศึกษา วิธีการจัดการศึกษา การเทียบโอนประสบการณ์ และการสนับสนุน 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาระหน้าที่ ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงานสนับสนุนได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานรัฐด้านแรงงาน สถานประกอบการและสมาคมหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องด้านวิชาชีพ สถาบันครอบครัว และชุมชนต่าง ๆ และสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่สำคัญคือ การสร้างเครือข่ายองค์กรร่วมกัน และให้ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ
2. หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ควรมีลักษณะดังนี้ 1) หลักสูตรการจัดการศึกษา ประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย ลักษณะหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผล 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักการของกระบวนการ การจัดการกระบวนการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ การใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการประเมินผล
3. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ควรประกอบด้วย หลักการ วิธีการ และการดำเนินการ
4. กระบวนการเข้าสู่อาชีพ ควรประกอบด้วย พื้นฐานทางการศึกษาและอาชีพ การรับรู้ การตัดสินใจ และการดำเนินงาน
Abstract
The objective of this research was to study and analyze the scenarios of career education for the disadvantaged of poor communities in the next decade (2554-2563 B.E.). The target group and key informants were the disadvantaged and specialists. Tools used were questionnaires and interviews form. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, median, quartile ranges and the difference between median and mode.
1. Education pattern consist of 1) the aim of education has three levels: policy, individuals and social, 2) the model of operation consist of education management, education method, knowledge and experience transfer and supporting, 3) organization and responsibility were local governments-based operations and supported by Ministry of Education, Chiang Mai provincial office of vocational education commission, academy in Chiang Mai provincial office of the non-formal and informal education, Chiang Mai provincial social development and human security office, department of labor, company and associations and institutions involved, families and communities and university. Every agency is responsible corporate networking and cooperation in various fields related of career education.
2. Curriculums and learning processes consist of 1) Curricula: objectives, curriculum design, curriculum content, curriculum Implementation and evaluation, 2) Learning process: principles, managing, learning model and evaluation
3. Learning evaluation consist of principles, method and operation.
4. Process of entering into career consists of education and vocational basic, recognition, decision and implementation.