การตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงจากคราบเลือดบนกระดาษชนิดต่างๆ ด้วยเทคนิคนินไฮดริน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงในคราบเลือดบนกระดาษตัวอย่างทั้ง 15 ตัวอย่างด้วยเทคนิค ninhydrin ทำการทดลองโดยการทาเลือดลงบนกระดาษจากนั้นประทับนิ้วหัวแม่มือด้านขวาบนกระดาษ ทิ้งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้องประมาณ 10 นาที ก่อนที่จะนำไปจุ่มลงในสารละลาย ninhydrin จากนั้นทำการถ่ายรูปรอยลายนิ้วมือที่ได้บนกระดาษทุกประเภททั้งก่อนและหลังการจุ่มด้วยสารละลาย ninhydrin ทำการเปรียบเทียบรูปภาพความคมชัดและจำนวนจุด minutiae ที่ตรวจได้ด้วยระบบ Automated Fingerprint Identification System (AFIS).
จากผลการทดลองพบว่าสำหรับการศึกษาพบรอยลายนิ้วมือที่ได้บนกระดาษทั้ง 15 ตัวอย่าง หลังการจุ่มด้วยสารละลาย ninhydrin มีความคมชัดและสามารถอ่านจุด minutiae ได้มากกว่ารอยลายนิ้วมือแฝงก่อนการใช้สารละลาย ninhydrin นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าคุณภาพของรอยลายนิ้วมือจะสูญเสียไปมากขึ้นเมื่อเพิ่มขนาดของการเจือจางเลือด (1:10, 1:100 และ 1:1000 v/v) สำหรับการเจือจางเลือดด้วยอัตราส่วน 1:1000 โดยปริมาตร สามารถอ่านรอยลายนิ้วมือแฝงได้บนกระดาษเพียง 2 ชนิดเท่านั้น จากงานวิจัยนี้พบว่าการใช้สารละลาย ninhydrin ทำให้รอยลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฎบนคราบเลือดบนกระดาษสามารถทำให้เห็นได้ดีขึ้น ดังนั้นการใช้สารละลาย ninhydrin ทำให้รอยลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฎบนคราบเลือดบนกระดาษสามารถทำให้เห็นได้ดีขึ้น
Astract
The aim of this project is to examine latent fingerprints on bloodstains deposited on 15 types of paper. The sample was prepared by applying a bloodstain on the paper and impressing the right hand thumb on the bloodstain afterwards. The sample was left for dryness at ambient temperature for 10 minutes before dipping the sample into a ninhydrin solution. For each type of paper, the pictures of the fingerprints on the bloodstain were taken both before and after applying the ninhydrin solution. A comparison of the two pictures for the clearness and number of minutiae was carried out using an Automated Fingerprint Identification System (AFIS).
It was found that for all types of paper studied, the pictures of fingerprints developed with ninhydrin displayed better clearness and gave a larger number of detectable minutiae as compared to those obtained without using the ninhydrin solution. Moreover, it was observed that the deterioration of the fingerprints developed with ninhydrin was increased with the degree of blood dilution (1:10, 1:100 and 1:1000 v/v). For the 1:1000 blood dilution, the fingerprints could be detected only on two types of paper studied. The results from this work thus suggested that in order to obtain a good quality of fingerprints on bloodstains deposited on paper, the method of ninhydrin development should be used.