การวิเคราะห์หาปริมาณไนไตรท์และไนเตรทในเขม่าดินปืนด้วยไอออนโครมาโทกราฟี

Main Article Content

เบญจ์ พุฒินิล
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี

Abstract

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ศึกษาหาปริมาณไนไตรท์ (NO2- ) และไนเตรท (NO3- ) ในเขม่าดินปืน (Gunshot Residues; GSR) บนผ้าที่ใช้เป็นเป้ายิง บนเสื้อผ้าของผู้ยิงปืน และประตูรถยนต์ที่ยิงปืนผ่าน โดยไอออนโครมาโทกราฟี (Ion Chromatography; IC) การทดลองใช้ปืนพกออโตเมติก ยี่ห้อ GLOCK MODEL 26 ขนาด 9 มม.LUGER โดยทำการทดลองยิงปืนไปบนเป้า 1 นัด ที่ระยะยิงต่างๆ และเก็บเขม่าดินปืนภายหลังยิงปืนทันที และ 3, 7, 15, 30 วัน ภายหลังการยิงปืน พบว่าปริมาณไนไตรท์และไนเตรทที่วัดได้มีมากที่สุดในตัวอย่างที่ได้จากระยะยิง 2 นิ้วและเก็บตัวอย่างทันที ปริมาณของไนไตรท์และไนเตรทในเขม่าดินปืนลดลงตามการเพิ่มขึ้นของระยะยิงและระยะเวลาการเก็บตัวอย่างภายหลังการยิงปืน นอกจากนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างบนเสื้อผ้าของผู้ยิงปืนและที่ประตูรถยนต์หลังจากยิงปืน 1, 3 และ 5 นัด โดยเก็บตัวอย่างภายหลังยิงปืนทันที และ 3, 7 วัน ภายหลังการยิงปืน ผลการทดลองพบว่าสามารถตรวจพบปริมาณไนไตรท์และไนเตรทจำนวนมากที่บริเวณเสื้อของผู้ยิงปืน ปริมาณของไอออนทั้งสองในเขม่าดินปืนลดลงตามการเพิ่มขึ้นของระยะเวลาการเก็บตัวอย่างภายหลังการยิงปืน และในการยิงปืนผ่านประตูรถยนต์ พบว่าสามารถตรวจพบไนไตรท์และไนเตรทในเขม่าดินปืนบนพื้นผิวของประตูรถยนต์ การศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทางนิติวิทยาศาสตร์ในการระบุว่ามีการยิงปืนได้

 

Abstract

            The aim of this project is to determine the amounts of nitrite (NO2-) and nitrate (NO3-) ions in gunshot residues (GSR) collected from the cloths using as a target, from the clothes of shooters and from the surface of a car door. The method of determination of GSR was the Ion Chromatography (IC).

            The firearm used in this study was a semi-automatic GLOCK model 26, 9 mm LUGER. In the shooting experiment, a bullet was fired from each firing range and the GSR were collected from the target cloth immediately after the shooting and at 3, 7, 15 and 30 days afterwards. It was found that the highest amounts of nitrite and nitrate in GSR were from the samples collected immediately after shooting and from those for the firing distance of 2 inches. The amounts of the two ions in the samples decreased as a function of the firing distances and sample-collection times.

            Another experiment was designed for the study of GSR samples deposited on the clothes of the shooters and from the surfaces of the car door at the incident of the arm firing. In this experiment, the gun firings were conducted with 1, 3 and 5 bullets and the samples of GSR were collected immediately after the firing and at 3 and 7 days afterwards. Large amounts of the two ions were found in the samples collected from the clothes of the shooter and as expected the decreases in the nitrite and nitrate contents were found in the samples obtained with the delays of 3 and 7 days. In all samples collected from the surfaces of the car door, the two ions were detected in significant amounts. It is thus demonstrated that the technique used in this study can be applied to forensic cases of firearm usages.

Article Details

Section
บทความ