การออกแบบของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความเป็นไทยจากวัสดุดินปูนปั้นกระดาษ

Main Article Content

ธนพรรณ บุณยรัตกลิน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์วัสดุดินปูนปั้นกระดาษเพื่อใช้เป็นวัสดุในการออกแบบของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความเป็นไทย โดยการนำแนวคิดจากภูมิปัญญาของงานช่างศิลป์ไทยที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ มาค้นคว้าทดลองนำวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่รอบๆตัว และวัสดุที่เหลือทิ้งเป็นขยะสร้างปัญหาต่อสภาพแวดล้อมของสังคมโลก มาพัฒนาเป็นวัสดุดินปูนปั้นจากกระดาษรีไซเคิลที่มีความคงทนใกล้เคียงกับวัสดุปูนตำโบราณ

            ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า สัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรางานวิจัย จากผู้เชี่ยวชาญและศิลปินแห่งชาติจำนวน 9 คนโดยแยกเป็นด้านปูนตำโบราณ 2 คนคือ นายทองร่วง  เอมโอษฐ์และ นายจิระศักดิ์  สมทรง ได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปูนตำและช่วยคัดเลือกสูตรปูนตำที่เหมาะสม ด้านงานปูนปั้น 6 คนได้แก่ นายสมยศ  คำแสง อาจารย์จากวิยาลัยเพาะช่าง นางสาวหทัยรัตน์  ภานุมาศ , นายอภิชัย  สินธุ์พูล , นายมนัส  แก่นจันทร์ , นายเมธี  บุญช่วย , นายปิยะสิทธิ์  ผลาพิบูลย์ จากวิทยาลัยในวังชายและด้านวัสดุศาสตร์ 1 คน ได้แก่ ดร.ดารารัตน์ เมฆเกรียงไกร

            จากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้คัดเลือกสูตรปูนปั้นปูนตำโบราณที่มีความเหมาะสมและใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยมาจำนวน 6 สูตร โดยทดลองและปรับส่วนผสมจนได้สูตรวัสดุดินปูนปั้นกระดาษรีไซเคิลที่ผู้เชี่ยวชาญยอมรับ โดยมีส่วนผสมหลักได้แก่ ปูนขาว 35% ทรายละเอียด 25% กระดาษรีไซเคิล 20% กล้วยน้ำว้า 15% กาวลาเท็ก 5%

            นำวัสดุดินปูนปั้นกระดาษมาทดสอบการขึ้นรูปด้วยวิธีการขึ้นรูปแบบต่างๆเป็นผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญงานปูนปั้นจำนวน 5 รูปแบบ และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ด้านปูนตำโบราณและด้านงานปูนปั้นทดสอบและประเมินผล

            ผลการศึกษาพบว่า วัสดุดินปูนปั้นกระดาษรีไซเคิล สามารถขึ้นรูปเป็นงานปูนปั้นได้เหมือนกับวัสดุปูนตำโบราณ ด้านการยึดตัวในการขึ้นรูปทรงแบบต่างๆ ด้านความยืดหยุ่นในการกดและขึ้นลวดลายและด้านความเหนียว มีความคงทนเมื่อแข็งตัว และสีของเนื้อวัสดุมีความใกล้เคียงกับเนื้อวัสดุดินปูนตำโบราณ ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 9 คน ลงความเห็นตรงกันทุกคนว่าวัสดุนี้สามารถนำไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านที่สะท้อนความเป็นไทยได้จริง และยังเป็นทางเลือกใหม่ให้นักออกแบบนำไปใช้เป็นวัสดุเพื่อการออกแบบแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Design) ได้ในอนาคต

 

Abstract

            The research on creating alternative recycled material for original Thai home decorative, using Thai handicraft wisdom that is a national cultural heritage traits of natural and unwanted materials. These materials may cause damage to the world’s environment, thus by recycling materials that have similar durability and qualification to produce traditional battered mortar with be an outcome.

            The researcher has conducted, interviews and compiled information from 9 specialists and national artists.  Among these selection were 2 traditional battered mortar specialists, 6 stucco artists, and 1 material scientist.

            From the interview, the researcher selected 6 formulas of traditional battered mortar that were appropriate and similar to the objectives of the research and adapted and changed proportion to be accepted by specialists. The formula comprised  35% lime, 25% fine sand, 20% recycled paper, 15% cultivated banana (Nam Wa), and  5% latex glue.

            The material was molded by 5 methods by stucco specialists and tested and assessed by material scientist traditional battered mortar specialist, and stucco specialists.

            The study found that Re-Material Paper Soil could be molded in the same manner as the traditional mortar in terms of bonding when molded, flexibility for pressing and capability of creating pattern, durability when becoming solid and its color. All a specialists unanimously agreed that the soil could be used as material for home decorative products that well reflects Thai characteristics and is alternative material for green design in the future.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ