ศิลปิน ศิลปะ วัฒนธรรม : การผลิตซ้ำกับการโกอินเตอร์

Main Article Content

วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

Abstract

บทคัดย่อ

            บทความชิ้นนี้พัฒนามาจากการศึกษาหาความรู้ “บทบาทของวัฒนธรรมไทยในงานศิลปะ ร่วมสมัย” ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Practicebased Research) เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ และนำเสนอผลลัพธ์ผ่านงานทัศนศิลป์ โดยเนื้อหาของการสร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการหา ข้อมูลตามแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ศิลปิน และผลงานศิลปะที่เป็นกรณีศึกษา ข้อมูลทั้งหลายนี้ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การทำความเข้าใจประเด็นที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมในงาน ศิลปะร่วมสมัย โดยผู้เขียน (ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วิจัย) สนใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกศิลปะ ร่วมสมัยของศิลปินไทยในเวทีนานาชาติ ซึ่งมีร่องรอยการนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ‘วัฒนธรรม’ เป็นแนวทาง ในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งทางกายภาพและทางแนวคิด ซึ่งความสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้เกิดขึ้น จากการตั้งข้อสังเกตส่วนตัว เมื่อครั้งที่ได้ชมผลงานของทั้งศิลปินไทย ศิลปินที่มาจากทวีปเอเชีย และ ประเทศโลกที่สาม ผู้เขียนพบว่าศิลปินจำนวนไม่น้อยจากกลุ่มประเทศดังกล่าวมักจะนำเสนอประเด็น ที่เกี่ยวกับ ‘วัฒนธรรม’ เฉพาะตนในแง่มุมต่างๆ ลักษณะดังกล่าวได้กระตุ้นให้ผู้เขียนเกิดคำถามที่ว่า ‘เหตุใด’ ศิลปินจึงต้องนำเสนอประเด็นเหล่านี้ และหากผลงานไม่ได้แสดงถึงรากทางวัฒนธรรม ศิลปิน เหล่านั้นจะยังได้รับการยอมรับและมีโอกาสนำเสนอผลงานในประเทศซกีโลกตะวันตกหรือไม่ ‘อย่างไร’

          จากการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวกับบทบาทของ ‘วัฒนธรรมไทย’ กับการ ‘โกอินเตอร์’ [1]ผ่านการทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่า ‘วัฒนธรรม’ และการตีความขอบเขตของคำว่า ‘วัฒนธรรมไทย’ และปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดการใช้ ‘วัฒนธรรมไทย’ ซึ่งประกอบไปด้วยภาครัฐ ภาคเศรษฐกิจ และตัวศิลปินไทย โดยผู้เขียนได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาจากผลงานบางชุดของ ศิลปินไทย 2 ท่าน ได้แก่ สุรสีห์ กุศลวงศ์ และสาครินทร์ เครืออ่อน เป็นหลัก วิธีการศึกษาคือเลือกศึกษาผ่านตัวผลงานศิลปะ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสต-ทัศนะ และการสัมภาษณ์ศิลปิน นอกจากนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเอกสารที่มีการกล่าวถึงผลงานของฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวานิช ในชุดผัดไทย และ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ในชุด 2nd Berlin Biennale_01 ซึ่งเป็นการนำผ้าข้าวม้าจำนวน 5000 ผืน เป็นข้อมูลเสริม เพื่อวิเคราะห์รูปแบบแนวคิดและกลวิธีที่ศิลปินไทยเลือกใช้ข้อค้นพบจากการวิจัย ผู้เขียนพบว่ากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย มีนัยยะที่บ่งชี้ให้เห็นถึงภาวะ ของการตอบโจทย์ตามความต้องการของตลาดศิลปะ จากประเทศมหาอำนาจในวงการศิลปะนานาชาติ กระแสโลกาภิวัตน์ รวมไปถึงนโยบายทางวัฒนธรรมของภาครัฐ และภาคเอกชน จากการศึกษาผลงาน และข้อเขียนต่างๆส่วนหนึ่งทำให้สรุปได้ว่า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเป็นไปตามกระบวนการ ผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ทำให้วัฒนธรรม ‘บางอย่าง’ ถูกหยิบยกขึ้นมาผลิตซ้ำอย่างเฟื่องฟู ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้อง ตั้งคำถามต่อไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ ผลิตซ้ำดังกล่าว

            จากผลจากการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Practice-based Research) นำไปสู่ผลงานศิลปะ จำนวน 2 ชุด ได้แก่ “ศิลปิน...อินเตอร์?” และ “ศิลปิน...อินเตอร์? (เวอร์ชั่นเอเชีย)” อย่างไรก็ตาม ข้อสรุป จากผลงานดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะประเมินคุณค่าผลงานของศิลปินที่ถูกนำมาเป็นกรณีศึกษา แต่อย่างใด หากเนื้อหาที่ปรากฏภายในผลงานเป็นการมุ่งวิเคราะห์ตีความตามหลักวัฒนธรรมศึกษา ด้วยความคาดหวังว่าเนื้อหาของผลงานจะกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการคิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ จนสามารถ ที่จะสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการคิดวิเคราะห์ผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทยในแง่มุมที่หลากหลาย โดยไม่จำเพาะต้องเป็นแง่มุมที่เป็นแนวคิดของศิลปินแต่เพียงฝ่ายเดียวแต่สามารถ เปิดประเด็นทั้งสิ่งที่ศิลปิน นำเสนอ และสิ่งที่ไม่ถูกนำเสนออย่างเท่าทันมากขึ้น

 

Abstract

          This article is developed from “The Role of Thai Culture in Contemporary Art”[1]which is Practice-based Research. All contents are inspired by doing research from various kinds of sources, for example; documents, artist interviews and artworks being as case studies. All this information is the key leading to understanding relating to culture in contemporary art issues. In addition, the author, as one of researcher members, has an interest in the phenomenon happening in the world of contemporary art on the World Stage of Thai artists which has a tendency to present contents concerning ‘culture’ as the method for creative work production both physical and conceptual aspects. The interest of this issue is initiated from an individual observation. After having perceived artworks from both Thai and third world artists, it was found that several artists from these countries usually present issues about the individual ‘culture’ in different aspects. These characteristics have motivated me to post questions, Whywould the artists like to present their individual colture? In addition, if artworks do not represent cultural roots,will those artists still be accepted and have chances to present their works in the western?

            In an attempt to understand the term ‘culture’, specifically ‘Thai culture’, the author is confronted with many issues such as government and economic sector and etc. The scope of the study is specified by using two Thai artists, Surasi Kusolwong and Sakarin Krue-On, as the main criteria. The study methods are learning through artworks, printed media, audio visual media and artist interviewing. In addition, the author did research on documents referring to Rirkrit Tiravanija’s Pad Thai and Navin Rawanchaikul’s 2nd Berlin Biennale_01 created by using 5000 pieces of Pha Khao Ma as the supporting information in order to analyze concepts and methods artists applied to their works.   

            Research results showed that creative processes of contemporary Thai artists reflected in answering the demands of international art markets, national cultural policies and artist self. As a result of this, certain cultures are promoted and reproduce intensively. This raises the question which concern the future of reproduction processes in these societies.

            Practice-based Research results lead to two sets of artworks, which are “artist…inter?” and “artist…inter? (Asian version)”. Nevertheless, the conclusion from the artworks does not aim to evaluate the value of artists’ works which were applied as the case studies. The contents in this research intended to conduct analysis and interpretation according to culture study principles. It is expected that the contents will be able to motivate audiences to think, analyze and criticize in order to create new analysis paradigms of Thai artists’ contemporary art creations in various aspects not merely artist concept specifically. They can propose efficiently different kinds of issues both presented by artist and not. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ