“ความเป็นไทย” หลายหน้า: การแย่งชิงและแบ่งปันพื้นที่นิยาม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
“ความเป็นไทย” เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับ “ประเทศสยาม” ภายใต้การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่กรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งนับจากนั้น “ความเป็นไทย” ได้ถูกเปลี่ยนความหมายไปในยุคสมัยต่างๆ ผ่านการที่กลุ่มการเมืองต่างๆผลัดกันขึ้นแย่งชิงและแบ่งปันอำนาจรัฐและกลไกของรัฐตลอดเวลา ด้วยเหตุที่ว่าการผลัดเปลี่ยนอำนาจเหล่านี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่อำนาจในการปกครอง หากแต่หมายถึงอำนาจทางกลไกของรัฐ ในการนิยามความเป็นชาติ “ไทย” ด้วย ทำให้ความเป็นไทยกลายเป็นสิ่งที่มีพลวัตรและมีลักษณะที่ “หลายหน้า” ตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ โดยในปัจจุบัน นิยาม “ความเป็นไทย” มีทั้งหมดสามประการใหญ่ๆ อันได้แก่ 1) ความเป็นไทยแบบวัฒนธรรมไทย-พุทธ 2) ความเป็นไทยแบบพหุนิยม และ 3) ความเป็นไทยแบบกษัตริย์นิยม ได้มาอยู่ด้วยกันภายใต้ “สถาวะยกเว้น” (exceptional state) โดยบ้างก็ขัดแย้งกันเอง บ้างก็มีความสอดคล้องไปด้วยกัน ทำให้เกิดลักลั่นขัดแย้งกันเองขึ้นในการนิยามว่าอะไรคือ “ความเป็นไทย” กันแน่
Abstract
“Thainess”, emerged out at the same time the “Siamese” nation-state was found, by the polity reformation under king Chulalongkorn and king Mongkut. Later “Thainess” was transformed by the struggle between several political groupings and their rise to take control of the state apparatuses, which are not only the means to govern but also the means to define what the “Thai” nation is as well. This makes Thainess become dynamical and has “multiple character”. At the present time, there are three major characters of Thainess: 1) Thai-Buddhism culture 2) Multiculturalism and 3) Royalism. All these three meanings have been brought together under the “exceptional state” in which sometimes coincide and sometimes contrast to the others. Consequently, the meaning of “Thainess” still remains overlap.