การปรับตัวของแรงงานเข้าสู่การเป็นแรงงานรับจ้างของสตรีเกาหลีในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจทศวรรษที่ 1960

Main Article Content

ภัทรธิชา หงษ์ทอง

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงเอกสารนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาภูมิหลังทางศาสนา สังคม เศรษฐกิจและ วัฒนธรรมของเกาหลีใต้ช่วงปี 1960-1980 ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบวิถีชีวิตของแรงงานสตรีเกาหลีใต้ ในการปรับตัวเข้าเป็นแรงงานในระบบอุตสาหกรรมในช่วงปี 1960-1980 (2) เพื่อศึกษามูลเหตุและผลกระทบในด้านบทบาทของการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรีในฐานะแรงงานรับจ้างในระบบของอุตสาหกรรม ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1980 

            งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนามีขั้นตอนดังนี้ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีและเหตุการณ์ที่สำคัญในเชิงสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน (2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการศึกษาโดยจัดลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับแรงงาน ในช่วงเวลาของการพัฒนาอุตสาหกรรมในทศวรรษที่ 1960 ซึ่งจะพิจารณาศึกษาถึงทศวรรษที่ 1980 (3) วิเคราะห์ประเด็นโดยใช้แนวคิดเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมในระดับจุลภาคตลอดจนในระดับมหภาคโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางมานุษยวิทยาควบคู่ไปกับการอ้างอิงแนวคิดทางโบราณคดีความรู้แบบกำเนิด-กำพืดวิทยาของอำนาจ (Genealogy) ทางสังคมต่างๆที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอันเป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อตัวแปรอื่นๆ ในสังคม

            ผลการวิจัยพบว่า ในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ได้สร้างบริบทใหม่ ให้กับรูปแบบโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของเกาหลีใต้ซึ่งมีพื้นฐานมาจากกรอบแนวคิดขงจื้อ ที่ส่งผลโดยตรงต่อทัศนคติ แนวความคิด รูปแบบปฏิบัติของคนเกาหลี ตลอดจนการร่างกฎหมายและนโยบาย ซึ่งนำมาบังคับใช้แล้ว มีผลต่อการปรับตัวของแรงงานรับจ้างสตรีเกาหลีในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในข้อเสียเปรียบ อาทิ การแบ่งแยกทางเพศและการกดขี่เอาเปรียบสตรี อย่างไรก็ดีเมื่อสะท้อนคิดแล้วทำให้ปรากฏเห็นข้อได้เปรียบในการปรับตัวอยู่เช่นกัน อนึ่งการควบคุมปราบปรามอย่างเข้มงวดโดยอิทธิพลของรัฐและนายจ้างกระตุ้นสำนึกชนชั้นและคุณค่าของแรงงานสตรี  ดังนั้นพฤติกรรมการปรับตัวเพื่ออยู่รอด สู่การขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิ ความเสมอภาค และอิสรภาพ ทั้งในข้อกำหนดทางแรงงานและการจัดตั้งสหภาพแรงงานจึงเกิดขึ้น และยังนับว่าเป็นชนวนสำคัญของการปฏิวัติแรงงานครั้งยิ่งใหญ่ อันเป็นทางกิจกรรมแรงงานที่เข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษต่อมา

 

Abstract

            The objectives of this documentary research are (1) to study the historical background of religion, society, economy and culture on Korean women labors’ way of life towards the adaptation into the industrial country between 1960s-1980s. (2) to study the cause and effect of participating in the economy and political affairs of Korean women as the labors in the industrial economic system between 1960s-1980s. 

            This research was conducted and followed the methodology of descriptive research in three steps. The researcher first studied the relevant labor information in terms of concepts, theories, significant occurrences and economic systems corresponding with social science and historical aspects. Secondly, the researcher selected the information concerning with Korean women labor to support the research by classifying the study of major history related labor incidents from 1960s-1980s. Lastly, the researcher then analyzed all significant data focusing on micro, and macro social change by combining with the anthropology and ideology in Genealogy of power the significant consequences economic development variable.     

            The research result is the adaptation of Korean women into the labor market during the industrial boom of the 1960s had defined new social, cultural and traditional structures, which directly influenced the attitudes and norms governed by Confucianism. The law and policy issued have an influence on the Korean women worker’s adaptation in industrial sector to eliminate the sex discrimination and female oppression. The law and policy provided the benefit to Korean women worker’s adaptation as well. Moreover, both of restricting and repression from the state and employer provoked labor’s consciousness and benefit for the driving force behind the unity of Korean workers demanded for equitable rights and liberation. Eventually, the labor revolution was regarded as the establishment of stronger Korean labor unions in next decade. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ