การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เนาวรัตน์ เจตดุ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความ    โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงดำ  2) พัฒนาแบบฝึกและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงดำ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75   3) ทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงดำ  4) ประเมินทักษะการเขียนสรุปความ  ประเมินชิ้นงาน e- books แนะนำถิ่นไทยทรงดำ  และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา  อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 37 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  ใช้เวลา 10 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย One Group  Pretest –Posttest  Design

            เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการแบบฝึกเสริมทักษะ 2)  ประเด็นสนทนากลุ่ม  3)  แบบฝึกเสริมทักษะ    4) แบบทดสอบการเขียนสรุปความก่อน-หลังเรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อแบบฝึกเสริมทักษะ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent  และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัย พบว่า

            1.  นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการให้สร้างแบบฝึกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา  อาหารและประเพณีของไทยทรงดำ โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย สีสันสดใส มีภาพประกอบ ใช้ร่วมกับการไปศึกษานอกสถานที่ สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น โดยมีครู นักเรียนและผู้รู้ท้องถิ่นประเมินร่วมกัน

            2.  แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความประกอบด้วย คำนำ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ สารบัญ แบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรม แบบทดสอบท้ายเล่ม แบบทดสอบหลังเรียนและ แผนการจัดการเรียนรู้ มี 3  เล่ม  ได้แก่ 1) ถิ่นเดิมไทยทรงดำ   2) รสล้ำธรรมชาติให้  3)  รู้ไว้ในวัฒนธรรม แบบฝึกมีค่าประสิทธิภาพ  77.75/ 81.62 

            3. ผลการทดลองใช้แบบฝึก พบว่า  นักเรียนกระตือรือร้นสนใจในกิจกรรมสามารถทำงานเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน

            4.  นักเรียนมีทักษะการเขียนสรุปความก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีสมรรถนะสำคัญอยู่ในระดับดีมาก และคุณลักษณะอยู่ในระดับดี นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของไทยทรงดำและภูมิใจที่ได้มีโอกาสอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ     

 

Abstract

            The purposes of this research were to 1)  study  of  the fundamental data  in  the development of  exercises of summary  writing skill  by using local   information   of ThaiSongDum,   2) develop  and  assess the  efficiency  of  summary writing  skill   by using  local  information of  ThaiSongDum standard criterion of to 75/75  3)  implement of the  exercises  and 4)  evaluate  of  the  summary writing skill  E-books  for  introducing ThaiSongDum, The sample consisted of 37 students   of  the  eighth  grade  during the second semester of academicyear 2011of  Khaoyoi witthaya  School, Phetchaburi.  The duration   of the  implementation coverd  10 hours.   The research design was one group pretest – posttest design.  The  research  instruments  were  the  questionnaire surveying need of exercises,the focus group form the exercises,   the pre-posttest, the  questionnaire  inquiring  student’s opinions  about summary writing  skill.    The obtained data were analyzed  by  percentage, mean, standard deviation,   dependent  t- test and content analysis.

            The findings were as follows :

               1.    The students who want to create a practice that was based on history. Thai food and culture of the ThaiSongDum. The color variation is illustrated in conjunction with the field trips. Information from the Internet and interviews with teachers, students, local knowledge and local knowledge estimates together.

   2.       Skills  training  the  instruction of  doing the  pre and posttest. The content

Consists of three aspects  : 1) the local Thai Song Dum 2) quality  of natural flavor  3) to the culture. Exercises  performance is 77.75 / 81.62

   3. It was found that the exercises. Students interested in passion. They can work as a group and finding information from sources both inside and outside of school.

   4.       The summary of students' skills before and after training with a difference is statistically significant at the 0.05 level. The scores were higher than before. The performance is very satisfactory and features at a good level. Students are trained to a level that is. Considering that it was also found. The benefit of their knowledge about the story of Thai Song Dum and they were proud of to have conservation their culture.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ