การสร้างตัวแบบสมการทำนายการตัดสินใจเลือกใช้บริการการสื่อสารไร้สายของ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์
อัญสุรีย์ ศิริโสภณ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์และส่วนประสมทางการตลาดบริการการสื่อสารไร้สาย เพื่อจำแนกกลุ่มผู้ใช้และสร้างตัวแบบสมการทำนายการตัดสินใจเลือกใช้บริการการสื่อสารไร้สายของบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการการสื่อสารไร้สายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและลักษณะทางประชากรศาสตร์ในด้านเพศ อายุ อาชีพ และการใช้การสื่อสารไร้สายมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการการสื่อสารไร้สาย ยกเว้น ระดับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการการสื่อสารไร้สายที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการสื่อสารไร้สายด้วยการวิเคราะห์การจำแนก คือ การส่งเสริมการตลาด บุคลากรในการบริการ กระบวนการในการบริการ และช่องทางการจัดจำหน่าย โดยสามารถสร้างสมการจำแนกกลุ่มและทำนาย การตัดสินใจเลือกใช้บริการการสื่อสารไร้สายได้ถูกต้องถึงร้อยละ 69.00

 

Abstract

            The purposes of this research were to study services marketing mix base on demographic data and which influence the modeling to predict decision use the wireless group product of True Corporation Public Company Limited. This research was collected the data by questionnaire with 400 samples from population in Bangkok area by combine strategy sampling. The result shows that services marketing mix was at a moderate level and result showed the samples with different demographic data regarding sex, age, occupation and using wireless group product were had significantly different levels of services marketing mix at the 0.05 level except the education. Moreover, discriminant analysis could predict who decision selection consists of 4 factors: promotion, people, process and place; furthermore, the model validation showed the hit rate at 69.00%.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ