ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

สมิง โคตรวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร 2) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการวิจัย  พบว่า 1)  พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมค้นหาปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในการลงทุน ตามลำดับ  2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการมีรูปแบบความคิด ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมตามลำดับ และ 3) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

Abstract

            The  purposes  of  this  research  were  to study: 1) the   level  of  participation behavior of school administration, 2) the learning organization in school, and 3) the relationship between the participation behavior of school administration under the Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 290 teachers working in the academic year 2009 in schools under the Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument employed for the data collection was a set of rating-scale questionnaires. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

            The results of the study were as follows: 1) The level of participation behavior of school administration was at a high level as a whole, as well as when separately considered by each aspect, the levels of the participation behavior of school administration were ranged from the height the lowest mean such as identigeme problem, planning, evaluation, and funding of aspects respectively. 2) The level of learning organization was at a high level as a whole, as well as when separately considered by each aspect, the levels of the Personal Mastery evaluated were ranged from personal mastery system thinking, mental model, shared vision and team learning, finding knowledge was at a low level. 3) The relationship between the level of participation behavior of school administration and learning organization in school under the Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2was moderately positive at the .01 level of significance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ