ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความสามารถในการฟื้นคืนได้ : ตัวแปรทำนายผลงาน ความพึงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรทำนายความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความสามารถในการฟื้นคืนได้ต่อผลงาน ความพึงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความหวัง, การมองโลกในแง่ดีและความสามารถในการฟื้นคืนได้ต่อผลงาน ความพึงพอใจในงานความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครอายุตั้งแต่ 18-60 ปี ที่ทำงานอยู่ในที่ทำงานปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในจำนวนรวม 235 คน เป็นเพศชาย 106 คนและเพศหญิง 129 คน เพื่อตอบแบบสอบถามมาตรวัดความหวัง การมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการฟื้นคืนได้ ผลงาน ความพึงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ และหัวหน้าของกลุ่มตัวอย่างจะประเมินแบบสอบถามผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุระดับ (Hierarchical Stepwise regression) ผลการวิจัยในประเด็นที่สำคัญ พบว่า
1. ความสามารถในการฟื้นคืนได้สามารถในการร่วมทำนายผลงานได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่การมองโลกในแง่ดีและความหวังไม่สามารถร่วมทำนายได้
2. ความหวังสามารถในการร่วมทำนายความพึงพอใจในงานทางบวกได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความสามารถในการฟื้นคืนได้ร่วมทำนายความพึงพอใจในงานในทางลบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่การมองโลกในแง่ดีไม่สามารถร่วมทำนายได้
3. ความหวังสามารถร่วมทำนายความสุขในการทำงานได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่การมองโลกในแง่ดีและความสามารถในการฟื้นคืนได้ไม่สามารถร่วมทำนายได้
4. ความหวังสามารถร่วมทำนายความผูกพันกับองค์การได้ในทางบวก และความสามารถในการฟื้นคืนได้ทำนายความผูกพันกับองค์การได้ในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่การมองโลกในแง่ดีไม่สามารถร่วมทำนายได้
Abstract
The purposes of this research were to study prediction of hope, optimism, and resilience on performance, job satisfaction, work happiness, and organizational commitment. 235 employees were randomly survey by 106 Thai males and 129 females aged between 18-60 years old which work at least for 1 year. The research instrument was survey questionnaires measure of hope, optimism, resilience, self-report performance, job satisfaction, work happiness, and organizational commitment. To minimize employees’ self-bias, managers also completed survey ratings of participants from formal performance appraisal
Result showed that Hierarchical stepwise regression analysis clearly demonstrated that
- 1. Resilience was the only significantly be able to predict on performance (p < .001)
- 2. Hope and resilience could significantly be able predict on job satisfaction (p < .001, p < .05)
- 3. Hope was the only significantly be able to predict on work happiness (p < .001)
- 4. Hope and resilience could significantly be able predict on organizational commitment (p < .001)