แนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานครู กศน. ตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

พรพิพัฒน์ ซื่อสัตย์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการที่คาดหวังและปัญหาการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบล และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก การดำเนินการประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการที่คาดหวังและปัญหาในการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบล และขั้นที่ 2 เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครู กศน. ตำบล  จำนวน  223  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับในด้านสภาพและความต้องการที่คาดหวังการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.95 และ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการจัดประชุมสนทนา( Focus group discussion) ใช้กลุ่มตัวอย่างที่มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและฝ่ายนิเทศก์ 3 คน  กลุ่มครู กศน. ตำบล 4 คน และกลุ่มผู้ใช้บริการและเครือข่าย 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ

               ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของสภาพการปฏิบัติงานและความต้องการที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาช่องว่างของระดับปัญหาพบว่า ด้านการให้บริการเรียนรู้มีระดับปัญหามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนและสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  ด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ

               แนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานครู กศน. ตำบล ในเขตภูมิภาคตะวันตก ประกอบด้วย      ด้านการวางแผนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ 1)กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงาน 2)ประสานข้อมูล 3) จัดอบรมการศึกษาตลอดชีวิต   ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1) จัดอบรมการวิเคราะห์หลักสูตร 2) อบรมวิทยาการและทักษะใหม่ๆ 3) อบรมครูแกนนำ ด้านให้บริการการเรียนรู้ ได้แก่ 1) กำหนดสื่อที่จำเป็น 2) จัดอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3) จัดตั้ง กศน.ตำบล ต้นแบบ ด้านสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน ได้แก่ 1) บูรณาการกิจกรรม 2) ศึกษาดูงานภูมิปัญญา 3) จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นใน กศน. ตำบล ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ได้แก่ 1อบรมเชิงปฏิบัติการ 2) จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) จัดโครงการพี่สอนน้องสำหรับครูรุ่นใหม่

 

Abstract

               The research aims to study working conditions, expecting needs and problems in the development of working performance quality of the Sub-district Non-formal education facilitators in western region, Thailand. The research was conducted in two steps. The first step was to collect the data on working conditions, expecting needs and problems in developing the sub-district non-formal education facilitators and the second step was to propose  guidelines for  the development of working performing quality of sub-district non-formal education facilitators in western region. The sample group selected for this research was 223 Facilitators. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire on working conditions and expecting needs with reliability value of 0.95 and 0.99 respectively. The statistics used in data analysis were percentage, arithmetic mean and standard deviation. The focus group discussion used a sample of a specific  group of people, viz. 3 executives and supervisors, 4 facilitators and 5 service users. The data were analyzed by the descriptive analysis technique and examined by specialist.

               The results of the research found that, as a whole, the working conditions and the expecting needs were rated at a high level. When considered problem level, it was observed that the problem which was rated the highest was that regarding learning service providence. The second was the problem in community activity support followed by the problems in learning networks, lifelong-learning plan and arrangement learning activities, respectively.

               The propose guidelines for the development of working performance quality of Sub- district Non-formal education facilitators in the western region composes of the guidelines on planning of lifelong learning which are 1) establishment of the plan objective; 2) data liaison; 3)organizing a training on a lifelong learning. The guidelines on learning activity include 1) organizing a training on curriculum analysis; 2) organizing a training on new knowledge and skills; 3) training leading teachers and guidelines on learning service providing are 1) specifying the essential communication tools; 2) organizing a training on using computer software; 3) establishing the prototype of sub-district Non-formal education. The guidelines about activity support in community include 1) integration of activity; 2) field study on local wisdom; 3) To establish of the local museum in sub-district Non-formal education. Finally, the guidelines on building of learning network are 1) workshop training; 2) a seminar for learning exchange and 3) organizing the knowledge-transfer- to-the-younger project. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ