ผลของการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจองที่มีต่อการสร้างสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลของโรงเรียนอรุณประดิษฐ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจองที่มีต่อการสร้างสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลของโรงเรียนอรุณประดิษฐ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลระหว่างเพศชายและหญิงหลังการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนปฐมวัยชั้นบริบาลเพศชายและหญิงอายุระหว่าง 2-3 ปี จำนวน 20 คน จำแนกเป็นเพศชาย 10 คน เพศหญิง 10 คน ของโรงเรียนอรุณประดิษฐ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลจำนวน 24 แผน สำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) แบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระแก่กัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตวิญญาณ ด้านการพูดและการกระทำ และด้านการเรียนหรือการทำกิจกรรม หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) พฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นบริบาลเพศหญิงโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตวิญญาณ ด้านการพูดและการกระทำ และด้านการเรียนหรือการทำกิจกรรม หลังการจัดกิจกรรมท่องคำคล้องจอง สูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of the effects of rhyme recitation activities on the concentration of young children at Arunphradit school, Muang district, Phetchaburi province study were: to study the concentration behavior of young children before and after participating in rhyme recitation activities, and to compare the concentration behavior between male and female young children after participating in rhyme recitation activities. The samples of this research were ten male and ten female young children, aged 2-3 years, randomly selected by gender dividing and drawing lots from the population of Aroonpradit School in Muang district, Phetchaburi province in the second semester of the academic year 2011. Instruments used in the study were twenty-four rhyme recitation activity plans for the eight week experiment and a concentration behavior observation form. The data analysis were mean (X), standard deviation (S.D.), t-test, and analysis of covariance. The results were as follows: 1) The concentration behavior of young children overall and in each aspect, including spirituality, speaking and acting and studying or doing activity after participating in rhyme recitation activities were significantly higher than before at the level of .01. 2) The concentration behavior of female young children overall and in each aspect, including spirituality, speaking and acting and studying or doing activity after participating in rhyme recitation activities were significantly higher than that of male young children at the level of .01.