การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางเลนวิทยา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบางเลนวิทยา ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (2) ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) แบบประเมินคุณภาพชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 73.42/70.96
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก
Abstract
The purpose of this research was (1) to develop the Self Learning Packages on Title Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 students at Banglanewitthaya School with the efficient standard criterion of 70/70 (2) to compare the pre-test and post-test achievement scores on the developed Self Learning Packages (3) to study the students’ satisfaction towards the developed Self Learning Packages
The sample was 26 Matthayomsuksa 3 student of Banglanewitthaya School during the first semester of 2012 academic year. They were selected by using a simple random sampling technique. The instruments used: (1) a structured interview form (2) Self Learning Packages developed by the researcher (3) a set of self-assessment of the surface area and volume (4) an achievement learning test, and (5) a students’ satisfaction questionnaire. Statistics used for analyzing data were : percentage(%), mean( ), standard deviation (S.D.), and t-test dependent.
The results of the study were as the follows:
1) The efficiency of the Self Learning Package of Mathematics on Title Surface Area and Volume for Matthayomsuksa 3 met the efficient standard criterion of 73.42/70.96
2) The students’ learning achievement score in the experimental group, after practicing with the Self Learning Package were significantly higher than pretest at the .01 level.
3) The students’satisfaction toward the developed Self Learning Package was at a high level.