การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาผลฝึกทักษะการปฏิบัติการ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบฝึกทักษะการปฏิบัติการ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน 6) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 78.11/75.13 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน พบว่าคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( X = 22.54, S.D. = 1.72) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ( X = 13.69, S.D. = 4.76) และมีค่า t = 12.14 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ผลฝึกทักษะการปฏิบัติการ เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ หลังจากเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน โดยรวมมีค่าร้อยละ 88.63 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ สูงกว่าร้อยละ 60
4. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเข้าใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ โดยรวมมีพฤติกรรมการเข้าใช้อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.46, S.D. = 0.58)
5. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสาน เรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.48, S.D. = 0.53)
Abstract
The purpose of this research was to: 1) develop blended e-learning for the maintenance and assembling computers, 2) compare learning achievement result of blended e-learning for the maintenance and assembling computers before and after studying 3) study result of operating skill by using blended e-learning, 4) study behavior when using blended e-learning, and 5) study student satisfaction towards the blended e-learning for the maintenance and assembling computers.
The sample group in this research was 40 junior students who enrolled in semester 2/2555 from Information Technology and Communication Program, Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University. They were selected by simple random sampling.
The instruments of this research were: 1) the structured interview, 2) the development of blended e-learning on the topic of maintenance and assembling computers, 3) the learning achievement test, 4) operating skill evaluation form 5) behavior observation evaluation form, and 6) questionnaires on student satisfaction. The statistic procedures employed in the data analysis included percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test.
The results of this research were as follows:
1. The effectiveness of blended e-learning development on the topic of maintenance and assembling computers was 78.11/75.13 which was higher than the criterion at 75/75.
2. The comparison of learning achievement before and after using the blended e-learning showed that the mean of post-test ( X = 22.54, S.D. = 1.72) was higher than pre-test ( X = 13.69, S.D. = 4.76) and the value of dependent t-test was equal to 12.14 meaning that learning achievement was statistically significant higher than before learning at 0.01 level.
3. The result of the maintenance and assembling computers operating skill after learning by using the blended e-learning was 88.63 percent higher than the standard criterion 60 percent.
4. The result of study behavior from using blended e-learning on the topic of maintenance and assembling computers generally ranked in the medium level (X = 2.46, S.D. = 0.58).
5. The student satisfaction towards the blended e-learning for the maintenance and assembling computers was high level ( X = 4.48, S.D. = 0.53).