การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน

Main Article Content

สราวุธ ปึ้งผลพูล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มโดยจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent)               

               ผลการวิจัยพบว่า

               1)   ผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               2)   ความความสามารถในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ความสามารถในการปฏิบัติงานขณะปฏิบัติงาน และ คุณภาพของชิ้นงานอยู่ในระดับสูงเรียงตามลำดับ และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการวางแผนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง  เป็นอันดับสุดท้าย

               3)   ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และด้านบรรยากาศในการเรียนรู้  อยู่ในระดับเห็นด้วยมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับ

 

Abstract

               The purposes of this experimental research were to : 1) compare learning outcome on relation between two-dimensional geometric figures and three-dimensional geometric figures of seventh grade students taught by work-based learning, 2) study students’ ability to work , 3) study students’ opinions toward work-based learning management. The sample group in this research is 43 seventh grade students in class number 2 in academic year of 2011 at Nawaminthrachinuthit Satriwitthaya Phutthamonthon school,  Thaweewatthana, Bangkok. The research instruments consist of work-based learning management lesson plans; the learning test in  relation between two-dimensional geometric figures and three-dimensional geometric figures; a dedication and commitment to work evaluation form; and a work-based learning management questionnaire. The data analysis employed by mean (X), standard deviation (S.D.) and dependent  t-test.

               The results of this research were as follow :

               1)   The learning outcome on relation between two-dimensional geometric figures and three-dimensional geometric figures before  and after being taught by work-based learning were statistically significance different at .05 level. The students’ learning  outcome average score after  instruction were  higher  than  before instruction.

               2)   The ability to work of students in overall was at a high level, Focusing on each aspect, followed by ability to work  while performing work, quality of product and ability to work before performing work.

               3)   The student’s opinions toward work-based learning management in overall was at a high agreement level. Focusing on each aspect indicated that students notably agree in every aspects according to logical order which were the usefulness from learning management aspect, the learning management aspect and the learning environments aspect .

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ