การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

Main Article Content

เอกภพ ไชยยา

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลา ประเภทการ์ตูน 2) เพื่อศึกษาความสามารถทางการอ่านของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลา ประเภทการ์ตูนและ 4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2555 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐมที่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน เรื่อง A Christmas Carol 2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านบทอ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูนและ 4) แบบวัดเจตคติทางการอ่านของนักศึกษาที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านนอกเวลาประเภทการ์ตูน มีค่าเท่ากับ 75.66/79.08 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลังจากที่เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์การอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีมากต่อสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและ 4) เจตคติทางการอ่านของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้นหลังจากที่เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านนอกเวลาประเภทการ์ตูน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 

Abstract

               The purposes of this research were: 1) to develop and test the efficiency of a Computer Cartoon External English Reading Materials; 2) to compare the students’ ability in reading before and after using Computer Cartoon External English Reading Materials; 3) to survey the students’ opinion toward Computer Cartoon External English Reading Materials; and 4) to compare the students’ attitude toward reading before and after using Computer Cartoon External English Reading Materials. The sample comprises 30 second-year students, Faculty of Education, Silpakorn University during the academic year 2012. The instruments used for gathering data consisted of: 1) Computer Cartoon External English Reading Materials; 2) 2) an English achievement test on reading comprehension, used as a pretest and posttest; 3) a questionnaire on opinions toward Computer Cartoon External English Reading Materials; and 4) a questionnaire on students’ attitude toward reading before and after using Computer Cartoon External English Reading Materials. The results of the study were as follows: 1) The efficiency score of the Computer Cartoon External English Reading Materials was 75.66/79.08. Consequently, the efficiency score of the Computer Cartoon External English Reading Materials is higher than the expected criterion (75/75); 2) The students’ ability in English reading comprehension after studying through the Computer Cartoon External English Reading Materials was significantly higher at the 0.05 level; 3) The students’ opinions toward the Computer Cartoon External English Reading Materials were highly positive; 4) The students’ attitude toward reading after studying through the Computer Cartoon External English Reading Materials was significantly higher at the 0.05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ