การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
ภัทราวดี มากมี
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาครูด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.   หลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยเนื้อหา 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยแรก แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หน่วยที่ 2 การสร้างและออกแบบการจัดการเรียนเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง หน่วยที่ 3 เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ ระดับสูง หน่วยที่ 4 การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง และหน่วยที่ 5 การนำผลการประเมินไปใช้ รวมจำนวน 18 ชั่วโมง (ภาคทฤษฎี 9 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 9 ชั่วโมง)

               2.   ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 เท่ากัน)

 

Abstract

               This research were to Development of a training program for basic education school teachers on developing the higher level learning assessment methods. The purposes of this research were 1) to develop the training program for basic education school teachers on developing the higher level learning assessment methods; and 2) to evaluate training program for basic education school teachers on developing the higher level learning assessment methods.

               The results of this research were as follow:

               1.   Regarding the development results of the training program for basic education school teachers on developing the higher level learning assessment methods, it was found that the training program comprised five training units, namely, the practice guidelines for measurement and evaluation of learning based on the Basic Education Curriculum, B. E. 2551; the design and development of learning management for higher level learning assessment; the techniques for higher level learning assessment; the development and analysis of quality of higher level learning assessment instruments; and the application of assessment results.

               2.   Evaluation results of the program relevancy and appropriateness by five experts revealed that the program was relevant and appropriate at the high level, with the similar rating means of 4.40 for relevancy and appropriateness.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ