ชุมชนบ้านน้ำฉ่ากับวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสร้างวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านน้ำฉ่าและกระบวนการผลิตซ้ำทางสังคมในภาคปฏิบัติการทางสังคมเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) ตามแนวทางการศึกษาของแฟร์คลาฟ (Norman Fairclough) โดยวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำ สมาชิกชุมชนบ้านน้ำฉ่าและตัวแทนหน่วยงานราชการที่มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์วาทกรรมจากตัวบท (Text) ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practice) และภาคปฏิบัติการทางสังคม (Social Practice)
ผลการศึกษาพบว่า การสร้างวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านน้ำฉ่าเกิดขึ้นจากตัวบทในเรื่องของอุดมการณ์ดำรงวิถีชีวิตแบบพอเพียงของคนในชุมชนมีระบบความสัมพันธ์ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการบริหารจัดการแบบเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีการแก้ไขปัญหาร่วมกันก่อนที่จะเฝ้ารองบประมาณจากรัฐบาล ทำให้เห็นถึงอุดมการณ์ชุมชนที่มุ่งมั่นใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจากโครงสร้างแผนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อน สำหรับภาคปฏิบัติการวาทกรรม (Discursive Practice) ตามตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พบว่า มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเรียนรู้ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนภาคปฏิบัติการทางสังคม (Social Practice) ถือเป็นอุดมการณ์ที่มอบหมายจากสังคมที่ถ่ายทอดนโยบาย วิธีการปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวคิดของผู้นำและคนในชุมชนที่ยึดอุดมการณ์ดำรงชีวิตพอเพียง ด้วยการรู้จักตัวตน รู้รับ รู้จ่าย รู้ออม รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกและเชื่อว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ภาวะของจิตใจ มิได้ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของทรัพย์สิน ทำให้สร้างความเป็นอื่น (Other Development) กับแนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างระบบทุนนิยม ระบบบริโภคนิยมว่าเป็นระบบที่ไม่ยั่งยืนทำให้สังคมเกิดความเสื่อมมากขึ้น ดังนั้น วาทกรรมของเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านน้ำฉ่ามีการสร้างอำนาจ (Power) และความรู้ (Knowledge) จากหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนการดำรงชีวิตของคนในชุมชนทำให้เกิดภาคปฏิบัติการทางสังคมด้วยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้บุคคลทุกระดับได้นำไปประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำ (Reproduction) และเผยแพร่ (Distribution) และเป็นหลักการที่ชี้นำแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนให้กับชุมชนอื่น ได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง วาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านน้ำฉ่าทำให้เห็นถึงความเป็นตัวตนที่มีระบบและพัฒนาต่อมาด้วยการขัดเกลาทางสังคม ทำให้เกิดอุดมการณ์แห่งความพอเพียงในชุมชนซึ่งทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และเหมาะสมกับสังคมชนบทไทยทำให้ชุมชนและสังคมเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความผาสุกอย่างยั่งยืน
Abstract
This study had main proposed to create discourse Philosophy of Sufficient Economy within community Ban Num Cha and the process of social reproduction. This study is a qualitative research, Actually, Norman Fairclough methodology analyzed had collected data by using in-depth interviewed leader, members of the community and representative government with 15 people. This article has been analyzed by the discourse analyzed of text, discursive practice and social practice.
The result showed that create discourse Sufficient Economy Philosophy within community Ban Num Cha from text on ideology self-sufficient life of the community. with relationships support, management is an associative network. the troubleshooting with waiting well before the budget from the government. the economic indicators of the prototype sufficiency for wellbeing strategy. for discursive practice as indicators of the sufficiency economy model that has four dimension; 1) economic 2) mind and social 3) learning and 4) natural resources and environment. the analysis of social practice are assigned by society to propagate the ideology, policies, procedures and practices to prepare for the change. and build a strong immunity under the sufficiency economy philosophy. this concept of leadership and ideology self-sufficient life of community by known identities that perceived as expense savings realized the external situation and believe that happiness is a state of mind. Does not depend on the wealth of the property, it has the other development other of capitalism, consumerism is not sustainable. Thus, discourse sufficient economy within community Ban Num Cha had the power and knowledge caused supported of the government with the establishment of learning center with philosophy of sufficiency economy. learning activities. Individuals at all levels to be applied at all times, to cause reproduction and distribution. This principles that can guide the way of live and practice with other communities. have to learn self-sufficient lifestyle. discourse sufficient economy within community Ban Num Cha to consturct the identity and developed by socialization. an ideology of self-sufficiency and make self-reliant community. it also appropriate for social thailand and cause development and social well-being community and quality of life to be sustained.