ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนกลาง)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนกลาง) ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการสร้างความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนกลาง) โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉพาะในส่วนกลางที่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปี พ.ศ. 2555 จำนวนทั้งสิ้น 401 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative research) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การ โดยการทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยไคสแควร์ และวัดทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวด้วยแกมม่า ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษาปรากฏว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (ส่วนกลาง) ส่วนใหญ่เห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนกลาง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการทำงาน ความชัดเจนของนโยบายและกฎระเบียบ การมี ส่วนร่วมตัดสินใจ ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความมีอิสระในการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน และ การปฏิบัติที่ยุติธรรม
ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยดังนี้ คือ ผู้บริหารองค์การควรจัดให้มีการชี้แจงและอธิบายให้ข้าราชการได้ทราบถึงเส้นทางก้าวหน้า (Career Path) ในตำแหน่งต่างๆ ส่งเสริมให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการที่มีผลงานดีเด่น กำหนดนโยบายในการช่วยเหลือในเรื่องรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายให้แก่ข้าราชการ จัดให้มีการพบปะระหว่างข้าราชการเพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการที่มีระยะเวลาทำงานน้อยได้รู้จักเพื่อนร่วมงานคนอื่นมากขึ้น กำชับให้ผู้บริหารระดับต้นชี้แจงนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน อาจเรียกข้าราชการผู้ปฏิบัติมาพบเพื่อสอบถามความเห็นในงานที่เสนอโดยตรง เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเมื่องานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ควรมีการเผยแพร่งานให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้าราชการรู้สึกว่าตนเองมีอิสระในการทำงานได้อย่างแท้จริง กำชับให้นำระเบียบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องของความก้าวหน้าในการทำงานมาใช้บังคับโดยเคร่งครัด ตลอดจน คอยสอดส่องดูแลให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการเพิ่มมากขึ้น โดยนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าว
สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปนั้น ควรมีการศึกษาตัวแปรอิสระอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยาของข้าราชการ เป็นต้น และควรมีการศึกษาเรื่องความผูกพันต่อองค์การของหน่วยงานอื่นทั้งที่อยู่ในและไม่อยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาข้อดี ข้อเสีย และนำไปใช้ปรับปรุง หรือหาแนวทางในการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ข้าราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ทำให้เกิดแรงจูงใจแก่ข้าราชการ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผูกพันต่อองค์การที่มีเพิ่มขึ้นต่อไปได้
Abstract
The purpose of this study were to determine the level and factors that influence the staff commitment of the office of Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives (Central) and propose to strengthen staff commitment of the office of Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives (Central). The population in the study were 401 officials in the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives remained on duty in the year 2555. A set of questionnaire was used as a tool of study and data collection. The statistics used to analyze quantitative data were frequency, testing the hypothesis. By chi-square analysis to measure the relationship between two variables and Gamma to measure the direction of variables with level of statistical significance at the .05 level.
The findings show that level of staff commitment of the Office of Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives (Central) was at medium level. Factors that influence the level of commitment are age, education, income, duration of the work. clarity of policies and regulations, participation decision, duties assigned, freedom to work, progress of position in work, and fair practice with statistically confident at .05 level
The researcher suggeststed that the Administration should provide information to clarify and explain the officials about the progress (Career Path) in different positions, encourage officials to continue to a higher level of education, such as providing scholarships to an outstanding public servant, enact the policy to help with expenses and income to low income officials, arrange meetings among the new officials to make acquainting to achieve a clear understanding, encourage the management to clarify rules and regulations or call the officials to ask for comments from their work. To show that there is an opportunity to participate in decision-making and when the goal is achieved, the work should be distributed to colleagues or to use as an example to follow. Allow officials conducted according to the relevant officials feel they have the freedom to work virtually. Enjoin the regulations concerning the progress of the work shall be applied strictly. Monitor and ensure fairness to the officials added by the principles of good governance as a tool to do so.
For suggestions on further research. Other independent variables should be more effective in enhancing the performance of official duties. The ethics of government and should be educated about the organizational commitment of other agencies, both in and not in the jurisdiction of the Ministry of Agriculture and the Agricultural Land Reform Office or the Office of the Auditor General to compare the advantages and disadvantages to improve or find ways to add value to officials of the Ministry of Agriculture, an incentive to officials which may lead to increased organizational commitment is possible.