ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ฐิติมา ปาลคะเชนทร์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน เลือกด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 365 คน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทดสอบไคสแควร์ และศึกษาขนาดและทิศทางความสัมพันธ์ด้วยค่าแกมม่า

               ผลการวิจัยสรุปคือ 1) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อยู่ในระดับมาก 2) อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพครอบครัว การรับรู้ข่าวสาร การเข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และการอบรมเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพนมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุน้อย รายได้น้อย ให้สามารถรับรู้ข้อมูลและประยุกต์ในแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน นำสู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

Abstract

               This study is a quantitative study.  Aims to investigate the level and factors that enhancing  knowledge and understanding of sufficiency economy philosophy that integrated in daily life of the people at Panom Local Administrative Office as well as syntheric the recommendations for  Panom Local Administrative Office to develop the quideline to improve daily life practice of the people based on sufficiency economy philosophy . The sample of study were household representative  and selected by simple random sampling of 365 people.  The data collected by questionnaires. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, chi-square test and gamma used for testing hypotheses and measuring the relationship as well as the direction between two variables.

               The findings were as follow: 1) the level of knowledge and understanding about the philosophy of sufficiency economy of the people at Panom Local Administrative Office were at high level 2) factors related to the level of knowledge and understanding of the sufficiency economy philosophy that toward to daily life of the people at Panom Local Administrative Office were age, education, income, family status, perception, participation and training in the philosophy of sufficiency economy program with statistically significant at the 0.05 level 3) the recommendations for Panom Local Administrative Office to enhancing the knowledge and understanding towards Sufficient Economy operation of the people were,  promote the concept of sufficiency economy philosophy and focus on the people among low-income individuals who are less able to recognize and apply the concept of sufficiency economy philosophy in daily life. The study of qualitative research is required as well as identify the problems and solution that meet the needs of the people led to more effective development

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ