ผลการเรียนรู้ด้วยเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยร่วมกับเทคนิคช่วยจำ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำ ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนผ่านสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีการใช้เทคนิคช่วยจำ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการจำของผู้เรียนที่เรียนผ่านสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีการใช้เทคนิคช่วยจำ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการจำของผู้เรียนที่เรียนผ่านสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีการใช้เทคนิคช่วยจำ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนผ่านสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีการใช้เทคนิคช่วยจำ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ที่เรียนวิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 จำนวน 71 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบสัมภาษณ์ 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา และด้านเกมคอมพิวเตอร์ 2) สื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัย สำหรับใช้ในการเรียน วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 แบ่งเป็น 2 แบบดังนี้ 2.1) แบบที่มีการใช้เทคนิคช่วยจำแบบเชื่อมโยง (Connection Mnemonic) และ 2.2) แบบที่ไม่มีการใช้เทคนิคช่วยจำ 3) แบบประเมินสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัย วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ วิชา ภาษาจีนพื้นฐาน 1 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีเทคนิคช่วยจำมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีเทคนิคช่วยจำ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความคงทนในการจำหลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีเทคนิคช่วยจำ พบว่าคะแนนความคงทนในการจำแตกต่างจากคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเกมคอมพิวเตอร์แบบผจญภัยที่มีและไม่มีเทคนิคช่วยจำ อยู่ในระดับมาก (X= 4.00, S.D. = 0.56) และ (X= 4.41, S.D. = 0.60)
Abstract
This research has 4 purposes which are 1) to study student’s achievements learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques Basic Chinese Language I 2) to compare learning achievements of student’s gained after learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques Basic Chinese Language I 3) to compare memory retention of student’s learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques Basic Chinese Language I and 4) To study students satisfactions learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques Basic Chinese Language I.
Population in this research are 71 student majoring in Teaching Chinese as a Foreign Language, Faculty of Education, Silpakorn University, Semester I, Year 2012, attending Basic Chinese Language I class. Sample in this research are students of semester I, Year 2012, majoring in Teaching Chinese as a Foreign Language, Faculty of Education, Silpakorn University, attending Basic Chinese Language I. Purposive Sampling is used to select the group of 20 students.
Research Instruments are 1) Structured interview for interviewing the content experts and the computer game experts. 2) Adventure computer game for Basic Chinese Language I learning is divided into 2 types which are 2.1) Game with Connection Mnemonic 2.2) Game without Connection Mnemonic 3) Adventure computer game for Basic Chinese Language I Learning Evaluate form 4) Basic Chinese Language I Learning achievement Test and 5) Student satisfaction questionnaire for Computer Game. The data was statistically analyzed by Mean, standard deviation, t-test independent and t-test dependent
The research found that
1. Learning achievement post-test scores of student’s learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques are higher than pre-test scores with statistically significant difference at 0.01 level.
2. Learning achievement test scores of Learners learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques are were not found statistically significant difference at 0.05 level.
3. Learning achievement test scores of student’s memory retention after 2 weeks of learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques was found that memory retention scores are different from post- test score, averaging lower with statistically significant difference at 0.05 level.
4. student’s satisfactions learning via adventure computer game with and without mnemonic techniques in memorizing is in a high level. (X= 4.00, S.D. = 0.56) and (X= 4.41, S.D. = 0.60)