การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

จำรัส อินทลาภาพร
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
ศรีสมร พุ่มสะอาด

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนในการวิจัย 2 ขั้นตอน  คือ 1.ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย 2.จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลตามแนวทางสะเต็มศึกษา  ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา จำนวน 2 คน  ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลตามแนวสะเต็มศึกษา จำนวน 2 คน ผลการวิจัย พบว่าในการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลตามแนวสะเต็มศึกษา  ครูควรปฏิบัติดังนี้ คือ 1) ศึกษาสาระสำคัญของสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมในลักษณะของการบูรณาการ 2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาด้วยตนเองก่อนที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน 3) จัดการเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน (Problem-based  Learning) 4) จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based  Learning)  5) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน 6) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Assessment)  ซึ่งแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาดังกล่าวเป็นการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic learning)

Abstract

          The purposes of this research  were  to synthesize guidelines  for learning  management of  the  STEM  Education  for elementary  students. The  process of the  research  consisted of  two stages  as  follows 1.Studying concept and relevant  literature of the STEM Education. 2. Focus  group  interview to synthesize  guidelines  for learning  management and  assessment of  the  STEM  Education  which  consist  of  specialist  in STEM  Education  two people , specialist  in curriculum one people , specialist  in  learning  management , measurement  and  assessment  of the STEM Education  two  people.

            The results of this research revealed  that 1) Teachers should study concept of the integration of  Science , Mathematics  and Occupations and  Technology  and  Engineering  design  process. 2) Teachers should prepare equipment and  laboratory for learning  actiivity of the STEM Education byself  before teaching the student. 3) Teachers should learning

management  by  Problem-based  Learning. 4) Teachers should  learning  management by Project-based  Learning. 5)Teachers should  prepare learning activity by supporting teamwork group knowledge sharing and feedback to student for checking knowledge and comprehensive  of  the students 6) Teachers should measure and assess for learning  of the students by authentic assessment   

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ